หนี้เสียคืออะไร แก้ไขประวัติ NPL ยังไง และส่งผลต่อการกู้เงินไหม
หนี้เสียคืออะไร แก้ไขประวัติ NPL ยังไง และส่งผลต่อการกู้เงินไหม

หนี้เสีย (NPL) คืออะไร? รู้ทันปัญหา พร้อมวิธีรับมือก่อนหนี้ท่วมหัว

หนี้เสีย คือ

หากพูดถึงปัญหาการชำระหนี้ที่หลายคนกังวล หนึ่งในนั้นคือปัญหาหนี้เสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการผิดชำระหนี้ ไม่ว่าจะเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้เงินไม่พอชำระหนี้ หรือเกิดจากการขาดวินัยของผู้กู้ ซึ่งปัญหาของหนี้เสียคือหากทิ้งไว้นานเกินไป

จะส่งผลต่อประวัติทางการเงิน โดนอัตราดอกเบี้ยที่สูง จนทำให้เกิดปัญหาหนี้ท่วมจนกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักว่าหนี้เสียคืออะไร และต้องรับมือยังไงบ้าง ไปติดตามอ่านกันได้เลย

หนี้เสีย คืออะไร?

หนี้เสีย NPL คือ

หนี้เสีย คือ หนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถทำการชำระคืนได้ตามเงื่อนไขหรือระยะเวลา 90 วัน ตามที่ธนาคารกำหนด โดยอาจเกิดจาก การบริหารการเงินที่ผิดพลาด ผู้กู้ขาดกำลังทรัพย์ที่เพียงพอ เป็นต้น ตัวอย่างหนี้เสีย ก็ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้บัตรกดเงินสด โดยหนี้เสียมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Non Performing Loan (NPL) โดยผลกระทบของหนี้เสียต่อผู้กู้คือการเสียประวัติทางการเงิน ที่ทำให้ไม่สามารถกู้สินเชื่ออื่น ๆ ได้ เพราะขาดความน่าเชื่อถือ 

หนี้เสียส่งผลต่อการกู้เงินไหม?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การมีประวัติหนี้เสีย จะส่งผลต่อการกู้สินเชื่อในอนาคต เพราะหนี้เสีย คือ การที่ผู้กู้มีประวัติการผิดชำระเงินตามที่ตกลงกับธนาคาร เปรียบเสมือนคนที่ยืมเงินเพื่อนแล้วไม่คืน หรือผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลเสียต่อการกู้เงินในอนาคตของผู้กู้

ผลกระทบจากการมีประวัติหนี้เสีย คือ ทำให้เมื่อเกิดเหตุที่ต้องกู้สินเชื่อฉุกเฉิน หรือหากต้องการกู้สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ มีโอกาสสูงที่ธนาคารจะปฏิเสธ เนื่องจากในการกู้สินเชื่อแต่ละครั้ง ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะประเมินความเสี่ยงจากประวัติของผู้กู้ ว่ามีประวัติการเงินที่ดี มีวินัยการผ่อนชำระมากน้อยแค่ไหน เพราะหากปล่อยให้ผู้กู้มีประวัติหนี้เสีย แล้วผิดชำระเงินอีก ธนาคารจะต้องสูญเสียเงินทุนและต้องสำรองสำหรับหนี้เสียตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

หนี้เสีย หนี้ดี และเครดิตบูโรต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจสงสัยว่า หนี้เสีย และเครดิตบูโร ต่างกันหรือไม่? สามารถตอบได้เลยว่าทั้งสองอย่างมีจุดที่เชื่อมโยงกัน แต่ความหมายแตกต่างกัน โดย หนี้เสีย คือ การผิดชำระหนี้ก้อนใดก้อนหนึ่งกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน 

ส่วน เครดิตบูโรนั้น หมายถึง ศูนย์ข้อมูลเครดิต ที่จะรวบรวมประวัติการชำระหนี้เครดิตของผู้กู้ทั้งหมด ไม่ว่าประวัติดีหรือประวัติเสีย ซึ่งประวัติเครดิตบูโรนั้นจะมีการแบ่งเป็นคะแนนบัตรเครดิต เพื่อเป็นการชี้วัดคุณสมบัติการชำระหนี้ ยิ่งหากมีประวัติการชำระเงินที่ดี ก็จะได้รับคะแนนที่สูง ทำให้มีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อผ่านง่าย แต่หากมีประวัติการผิดชำระ หรือหนี้เสียบ่อย ก็จะได้คะแนนเครดิตบูโรที่ต่ำ และมีโอกาสอนุมัติสินเชื่อยากกว่า 

หนี้เสียมีอะไรบ้าง?

หนี้เสีย มีอะไรบ้าง

หนี้เสีย สามารถเกิดขึ้นกับทุกคน โดยเฉพาะคนที่ต้องการกู้สินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่หากไม่วางแผนการเงินให้ดี อาจเกิดเป็นหนี้เสียได้ โดยประเภทของหนี้เสียแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  • บัตรเครดิต หรือหนี้บัตรเครดิตคือ เป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า บริการ เป็นจำนวนมาก จนเกินกำลังการชำระ
  • บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคล หนี้เสียที่เกิดจากการขอเงินกู้ฉุกเฉิน เพื่อนำเงินมาจับจ่าย เช่น ค่าเทอม ค่ารักษาพยาบาล หรือลงทุนต่าง ๆ
  • สินเชื่อบ้าน เป็นหนี้ที่เกิดจากการขอสินเชื่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อนำไปซื้อบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหนี้ระยะยาวที่ผู้กู้ต้องผ่อนชำระหลายสิบปี
  • สินเชื่อรถยนต์ เป็นหนี้ที่เกิดจากการขอกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อซื้อรถยนต์ เป็นหนี้ที่ภาระสูง ส่วนใหญ่จะตั้งแต่หลักแสนขึ้นไป แต่ระยะการผ่อนไม่นาน

ผลกระทบของหนี้เสียที่ทำให้เกิดปัญหาในอนาคต

การเกิดหนี้เสีย เป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อการเงินของผู้กู้โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเงินในอนาคต โดยผลกระทบของหนี้เสียมีดังต่อไปนี้

ทำให้เสียประวัติทางการเงิน

เมื่อคุณเกิดการผิดชำระหนี้กับธนาคาร สิ่งที่ส่งผลกระทบแรกจาก หนี้เสีย คือ การเสียประวัติทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการขอกู้สินเชื่อต่าง ๆ กับธนาคารในอนาคต ทำให้เสียโอกาสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือกู้เงินเพื่อลงทุนธุรกิจต่าง ๆ

ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลง

การเป็นหนี้ล้วนแต่ส่งผลต่อการเงินไม่มากก็น้อย หากเป็นหนี้เสียด้วยแล้ว ยิ่งส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินไม่น้อย ยิ่งหากปล่อยไว้นานอาจเสียค่าดอกเบี้ยเยอะขึ้น จนหนี้บานปลาย ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่ากิน ค่าเดินทาง รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อเงินเก็บสำรองยามฉุกเฉิน 

ทำให้เสียโอกาสในการใช้ชีวิต

ผลกระทบจากการเป็นหนี้เสียอีกอย่างคือ การทำให้เราเสียโอกาสต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตอย่างที่ควรเป็น เช่น แทนที่เราจะสามารถนำเงินที่มีไปจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่จำเป็น หรือนำเงินไปเก็บเพื่อต่อยอดโอกาสในชีวิต เรากลับต้องนำเงินที่มีไปชำระดอกเบี้ยหนี้ที่เราค้างชำระแทน 

5 วิธีที่รับมือกับหนี้เสีย เพื่อรอดพ้นจากหนี้สินค้างชำระ

หลังจากที่รู้แล้วว่า หนี้เสีย มีอะไรบ้าง ในส่วนถัดมาเราจะมาแนะนำทางออกสำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาหนี้ที่มีเยอะเกินกำลัง หรือเสี่ยงเกิดหนี้เสีย ต้องรับมือยังไง เราได้รวม 5 วิธีรับมือมาให้แล้ว

1. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว

การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว หรือที่เรียกว่า สินเชื่อรวมหนี้RCC คือการนำหนี้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อรถ หนี้สินเชื่อบ้าน มารวมกันเป็นก้อนเดียว ซึ่งจะช่วยให้ง่ายต่อการจัดการชำระหนี้ ไม่ต้องสับสนการชำระหนี้ก้อนต่าง ๆ รวมทั้งยังช่วยให้เสียดอกเบี้ยก้อนเดียวในอัตราที่ต่ำลง ช่วยเพิ่มโอกาสปิดชำระหนี้ได้ไวยิ่งขึ้น

2. ไม่สร้างหนี้และภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม

อีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดหนี้เสีย คือผู้กู้ต้องพยายามไม่สร้างหนี้ที่ไม่จำเป็นจนเกินกว่ากำลังเงินที่ตัวเองสามารถจ่ายได้ โดยสามารถเริ่มง่าย ๆ ด้วยการประเมินรายรับรายจ่ายของตัวเอง ว่าต่อเดือนแล้วมีกำลังการผ่อนชำระหนี้อยู่ที่เท่าไหร่ และเลือกลำดับความจำเป็น ความสำคัญ หากสิ่งไหนไม่จำเป็น หรือไม่สำคัญ อาจเก็บหอมรอมริบแล้วค่อยซื้อ และเลือกใช้บัตรในสิ่งที่จำเป็น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เราไม่มีหนี้จนเกินกำลัง

3. กำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

การวางแผนทางการเงินคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนรายรับรายจ่ายต่อเดือน การซื้อของด้วยการประเมินกำลังทรัพย์ก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ เพราะนอกจากจะช่วยลดภาระหนี้สิน ลดโอกาสเกิดหนี้เสียแล้ว ยังจะช่วยให้มีสภาพคล่องตัวทางการเงินมากขึ้น ช่วยให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้มากขึ้น

4. จัดลำดับความสำคัญของการจ่ายหนี้

อีกวิธีการรับมือภาระหนี้ที่เกินกำลัง หรือลดความเสี่ยงจากการเกิดหนี้เสีย คือ การจัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้ ว่าควรชำระหนี้ไหนก่อนหลัง โดยทางเลือกที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้มี 2 แบบ คือ

  • ชำระหนี้ที่เหลือยอดค้างน้อยที่สุด เพื่อช่วยให้ภาระหนี้ที่มีลดน้อยลง และมีโอกาสปิดหนี้ได้เร็วที่สุด
  • ชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงสุด เพื่อลดภาระหนี้ที่มีค่าใช้จ่ายสูงให้หมดไปก่อน แล้วค่อยชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำ

5. เจรจาเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้

หากรู้สึกว่าภาระหนี้มีเยอะจนเกินกว่าที่กำลังเราจะชำระไหว อีกหนึ่งทางออกของการแก้ปัญหาหนี้เสีย คือ การขอเจรจากับธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือเพื่อขอพักชำระหนี้ โดยทางธนาคารจะมีการเปิดรับการให้คำปรึกษาการปรับแผนชำระหนี้สำหรับผู้ที่มีปัญหา เช่น ช่วยปรับดอกเบี้ยเพื่อให้เราวางแผนให้เราปิดหนี้บัตรเครดิต ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประวัติทางการเงินของเราด้วย หากมีประวัติการเงินที่ดีมาตลอดก็ยิ่งมีโอกาสที่ธนาคารจะช่วยเหลือมากขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าปัญหาหนี้เสีย คือสิ่งที่ทุกคนที่ใช้บัตรเครดิต หรือใช้บริการสินเชื่อต่าง ๆ ต้องระวังอย่างยิ่ง ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากการวางแผนการเงิน ไม่ใช้จ่ายจนเกินกำลัง หรือหากใครที่คิดจะทำการขอสินเชื่อใด ๆ ก็ตาม ควรศึกษาและเปรียบเทียบโปรโมชัน อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงใช้บริการกับ Refinn ที่จะช่วยเปรียบเทียบโปรโมชันธนาคารแบบออนไลน์ เพียงบอกงบเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม