สภาพคล่องทางการเงินคืออะไร? ทำไมถึงต้องบริหารร่วมกับธุรกิจ
ในยุคที่เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การบริหารสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจและบุคคลสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน หากคุณเคยสงสัยว่าสภาพคล่องคืออะไร สำคัญอย่างไร และต้องจัดการอย่างไร เราจะช่วยตอบทุกข้อสงสัยพร้อมเผยเคล็ดลับในการปรับปรุงสภาพทางการเงินของคุณให้แข็งแกร่งขึ้นกัน
สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) คืออะไร?
สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) คือ ความสามารถของธุรกิจหรือบุคคลในการเปลี่ยนสินทรัพย์หรือการลงทุนให้เป็นเงินสดในเวลาที่ต้องการ โดยไม่สูญเสียมูลค่าที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น การขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่สามารถทำได้ทันทีและได้รับเงินในเวลาอันสั้น สิ่งนี้แสดงถึงสภาพคล่องทางการเงินที่ดี
ในทางกลับกัน หากคุณมีสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที เช่น อสังหาริมทรัพย์ ก็อาจส่งผลกระทบต่อความคล่องตัวทางการเงินของคุณ การบริหารการเงินจึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้สามารถจ่ายหนี้สิน ตอบสนองความต้องการทางการเงินในระยะสั้น และรองรับความผันผวนของตลาดได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
สภาพคล่องทางการเงินสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างไร?
ธุรกิจที่มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีจะสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นในทุกสถานการณ์ เช่น การจ่ายเงินเดือนพนักงาน ซื้อวัตถุดิบ หรือชำระหนี้สินต่าง ๆ หากการเงินของเราไม่คล่อง อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วน้อย ธุรกิจอาจต้องเผชิญกับปัญหาการเงินที่รุนแรง เช่น การผิดนัดชำระหนี้ หรือความล้มเหลวในการขยายธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและผู้ถือหุ้น เพราะการมีเงินสำรองหรือสินทรัพย์ที่พร้อมใช้งานแสดงถึงความมั่นคงทางการเงินขององค์กร ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้โอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเพิ่มเติม สำหรับคนธรรมดาก็ไม่ต้องพึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินด่วน
การบริหารสภาพคล่องทางการเงินจำเป็นไหม?
ในสังคมที่เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การบริหารสภาพคล่องทางการเงินเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลทั่วไปและธุรกิจ การจัดการสภาพคล่องทางการเงินคือสิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน และช่วยสร้างความมั่นคงในระยะยาว การวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารให้เงินมีความคล่องตัว เช่น การติดตามรายรับและรายจ่าย การจัดการหนี้สินอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง และการสำรองเงินสดในกรณีฉุกเฉิน การบริหารเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างมั่นใจ
สภาพคล่องทางการเงินควรมีเท่าไหร่ถึงเหมาะสม
ไม่มีตัวเลขที่แน่นอนสำหรับสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสม เพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจหรือความต้องการทางการเงินของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม หลักการทั่วไป สภาพคล่องคือการมีเงินสดสำรองที่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนอย่างน้อย 3-6 เดือน
ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของคุณมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 100,000 บาท คุณควรมีเงินสำรองขั้นต่ำ 300,000-600,000 บาท ในบัญชีเงินสดหรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน เช่น ยอดขายลดลงหรือเศรษฐกิจชะลอตัว ถึงอย่างนั้น เราก็ไม่ควรมีเงินสำรองมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดภาวะเงินสดไม่ได้ใช้งาน ส่งผลให้เสียโอกาสในการลงทุนหรือดำเนินไปต่อยอดธุรกิจ
วิธีการคำนวณหาสภาพคล่องทางการเงินด้วยตัวเอง
การคำนวณและตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินช่วยให้คุณสามารถประเมินสถานการณ์ทางการเงินของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากวิธีง่าย ๆ ดังนี้
พิจารณาจากรายรับ-รายจ่าย
การจัดทำรายรับและรายจ่ายช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของการเงินได้ชัดเจน หากรายจ่ายของคุณสูงกว่ารายรับหรือมีหนี้เสีย แสดงว่าคุณอาจมีปัญหาด้านการเงิน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินเพื่อเพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่าย
คำนวณจากงบดุลส่วนบุคคล
งบดุลส่วนบุคคลคือการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของคุณในรูปแบบที่เป็นระบบ การมีสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้มากกว่าหนี้สินบ่งชี้ว่าสภาพการเงินของคุณอยู่ในระดับที่ดี นอกจากนี้ งบดุลยังเป็นส่วนหนึ่งที่บอกด้วยว่าเรามีสถานภาพทางการเงินในระดับเครดิตดี เพราะสินทรัพย์มีมากกว่าหนี้สิน หมายความว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้นั่นเอง
เช็กจากเงินออมที่เก็บไว้
เงินออมที่สามารถถอนใช้ได้ทันทีเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสภาพคล่อง หากคุณไม่มีเงินออมที่เพียงพอ อาจพิจารณาสร้างแผนการออมเงินอย่างเป็นระบบ ในกรณีที่เป็นธุรกิจ เราอาจต้องพิจารณาเงินคืนหมุนเวียนในบริษัทว่าดีมากน้อยแค่ไหน หากเงินทุนหมุนเวียนน้อยก็หมายความว่าบริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน อาจต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเอาไว้แต่เนิ่น ๆ
ตรวจสอบอัตราส่วนสภาพคล่อง
อัตราส่วนสภาพคล่องหรือ Liquidityratio คือ อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพทางการเงินของเรา และยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการชำระหนี้สินอีกด้วย โดยอัตราส่วนจะประกอบไปด้วย
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน เป็นอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน หากนำเอาสินทรัพย์หารด้วยหนี้สินแล้วมากกว่า 1 หมายความว่าการเงินยังดี แต่ถ้าหารออกมาแล้วค่าต่ำกว่า 1 หมายความว่าหนี้สินมีมากกว่าสินทรัพย์ การเงินไม่คล่องเท่าที่ควร
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว หมายถึงอัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนคล่องสูง ซึ่งจะตัดรายการสินค้าคงเหลือออกและหนี้สินหมุนเวียน เมื่อนำเอาค่าสินทรัพย์หมุนเวียน ลบสินค้าคงเหลือ หารด้วยหนี้สินหมุนเวียน แล้วค่าออกมามากกว่า 1 หมายความว่าสินทรัพย์เรายังมีความคล่องตัวอยู่ แต่ถ้าหารออกมาแล้วน้อยกว่า 1 หมายความว่าสินทรัพย์ของเราเริ่มฝืดเคืองแล้ว
การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
หากคุณมีหนี้สินจากบัตรเครดิต การรวมหนี้เป็นก้อนเดียวช่วยลดดอกเบี้ยและปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสม ทำให้คุณสามารถจัดการการเงินได้ดีขึ้น เมื่อเราสามารถจัดการหนี้สินได้ การเงินของเราก็จะคล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม
สาเหตุของการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
การเงินขาดสภาพคล่อง หมายถึง สภาวะที่บุคคลหรือองค์กรไม่สามารถหาเงินสดมาใช้จ่ายได้ทันทีตามความต้องการ หรือไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วพอ เช่น ที่ดิน อาคาร หรือหุ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างมาก แต่ขาดสภาพคล่องทางการเงินสามารถแก้ไขได้ อย่างเช่น การลดค่าใช้จ่าย หารายได้เพิ่ม หรือรีไฟแนนซ์บ้าน สำหรับสาเหตุของปัญหาการเงินฝืดเคืองมีหลายปัจจัย ประกอบไปด้วย
- รายได้ไม่เพียงพอ รายได้ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายทำให้เงินไม่พอใช้ อาจเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์สินไม่ดี รวมไปถึงการถือครองสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้คล่องตัว
- หนี้สินมากเกินไป มีภาระหนี้สิน เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินส่วนบุคคล หรือหนี้ธุรกิจ ที่ต้องชำระมากเกินไป
- ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น เจ็บป่วย เสียงาน ทำให้ต้องใช้เงินก้อนโต ส่งผลให้การเงินฝืดเคืองได้
- การลงทุนที่ขาดทุน การลงทุนในสินทรัพย์ที่ขาดทุน ทำให้สูญเสียเงินทุน
- ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทำให้รายได้ลดลง หรือธุรกิจได้รับผลกระทบ สามารถส่งผลต่อสภาพการเงินของเราได้เหมือนกัน
- การบริหารจัดการเงินไม่ดี การใช้จ่ายเกินตัว ไม่วางแผนการเงิน หรือไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน
รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ไหม?
การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ยและปรับปรุงสภาพคล่อง ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายรายเดือนและเพิ่มสินทรัพย์สภาพคล่อง คือพวกเงินสด เงินในธนาคาร ทอง หรือหุ้น ก็จะทำให้การเงินของเราคล่องตัวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากคุณมีหนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ย 18% ต่อปี การรีไฟแนนซ์ไปยังสินเชื่อที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า เช่น 10% ต่อปี จะช่วยลดภาระหนี้สินได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
สรุป
สภาพคล่องทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความสำเร็จทั้งในระดับบุคคลและธุรกิจ การบริหารจัดการสภาพคล่องที่ดีช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทายทางการเงินได้อย่างมั่นใจและเพิ่มโอกาสในอนาคต ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินได้ในระยะยาว
หากคุณเป็นมือใหม่ทางการเงินที่ยังไม่รู้ว่าจะบริหารยังไงดีหรือกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง เราขอแนะนำให้ใช้บริการหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทาง Refinn เลย สามารถใช้บริการได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มีบริการทางการเงินมากมายให้คุณได้เลือก ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ ขอสินเชื่อ สามารถผ่านวิกฤตทางการเงินได้ง่ายขึ้น ดูแลโดยผู้มีประสบการณ์ ช่วยให้คุณสามารถบริหารสภาพคล่องได้อยู่หมัดแน่นอน