วิธีคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 ตั้งแต่ต้นจนจบในที่เดียว
วิธีคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 ตั้งแต่ต้นจนจบในที่เดียว

สรุปวิธีคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 ครบจบในที่เดียว

วิธีคิดภาษี

สิ้นปีใกล้เข้ามาอีกครั้ง หลายคนคงเริ่มกังวลเกี่ยวกับวิธีคิดภาษีและสงสัยว่าจะต้องเตรียมตัวกับการยื่นภาษียังไงบ้าง เป็นเรื่องปกติที่หลายคนจะรู้สึกสับสนและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับขั้นตอนการยื่นภาษี ไม่ว่าจะเป็นรายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษีหรือวิธีคํานวณภาษีบุคคลธรรมดาต้องทำยังไง เราจะพาทุกคนมาไขข้อข้องใจ เพื่อให้คุณสามารถยื่นเอกสารได้อย่างมั่นใจและไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกตรวจสอบอีกต่อไป

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดา?

การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ได้รับเงินได้ โดยจะเป็นขั้นตอนถัดจากวิธีคิดภาษี เพื่อให้หน่วยงานรัฐนำเงินไปพัฒนาประเทศ แต่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องยื่นหรือไม่ ต้องรู้วิธีคํานวณภาษีหรือเปล่า และต้องยื่นแบบไหน 

คำตอบง่ายๆ เลยก็คือผู้มีเงินได้หรือได้รับเงินในระหว่างปีทุกคนจะต้องยื่นเอกสารต่อสรรพากร ไม่ว่าเราจะต้องจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่จะมีเพียงแค่บางคนเท่านั้นที่ต้องเสียเงิน เพราะอัตราภาษีจะคำนวณแบบขั้นบันได 

โดยผู้ที่มีเงินได้ตั้งแต่ 1 บาทถึง 150,000 บาทจะได้รับการยกเว้น หากมีเงินได้มากกว่านี้ก็ต้องจ่ายกันทุกคน ถ้าในระหว่างปีเรามีการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่พอสิ้นปีแล้วคำนวณออกมาว่าเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดต้องเสียเงิน เรายังสามารถขอรับเงินคืนได้อีกด้วย

บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบภาษีเมื่อไหร่?

หลายคนอาจสงสัยว่าต้องยื่นแบบเมื่อไหร่บ้างและมีเงื่อนไขอย่างไร จะได้เตรียมวิธีคิดภาษีได้อย่างถูกต้อง  โดยเฉพาะคนที่มีค่าลดหย่อนเยอะอย่างเงินบริจาคหรือภาษีบ้านหลังแรก โดยทั่วไปแล้ว บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ซึ่งเงินได้พึงประเมินนี้รวมถึง เงินเดือน ค่าจ้าง เงินที่ได้จากการค้าขาย เงินปันผล ดอกเบี้ย และเงินได้อื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดด้วย

ระยะเวลาในการยื่นภาษี 2567 

  • ครึ่งปี สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5, 6, 7 หรือ 8 (เช่น ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน จะต้องยื่นแบบภายในเดือนกันยายนของปีนั้น
  • สิ้นปี สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี จะต้องยื่นแบบภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป หรือในเดือนมีนาคม 2568 นั่นเอง 

เงื่อนไขการยื่นแบบ

  1. มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น เงินเดือนรวมตลอดปีเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือมีรายรับอื่นๆ รวมกับเงินเดือนแล้วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  2. เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่หรือมีกิจการในราชอาณาจักรไทย หมายถึงคนที่มีสัญชาติไทยหรือชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทยเป็นเวลาเกิน 180 วันในรอบ 12 เดือน
  3. มีหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการ ค้าขาย หรือมีรายรับจากการลงทุน

คำที่ควรรู้จักก่อนคิดภาษี

คำที่ควรรู้จักก่อนคิดภาษี

วิธีคิดภาษีอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะวิธีคิดภาษีต่างชาติ เพราะคงมีหลายคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์เฉพาะ ทำให้เราเกิดความสับสนได้ง่าย ดังนั้น เรื่องที่เราต้องเรียนรู้จึงไม่ได้มีเพียงแค่อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ยังควรทำความเข้าใจกับคำศัพท์สำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น 

  • ค่าใช้จ่าย เงินที่จ่ายออกไปเพื่อให้เกิดรายรับ เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ค่าเสื่อมราคา หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการหารายรับ มีความสำคัญในการคำนวณภาษีมากๆ เพราะเป็นอีกหนึ่งจุดชี้วัดว่าเราจะต้องเสียเงินเท่าไหร่ในปีนี้ 
  • รายได้ เงินที่ได้รับมาจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทนจากการทำงาน ค่าเช่า หรือเงินปันผลจากการลงทุน เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะใช้ในวิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา2567 
  • อัตราภาษี เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต้องนำไปคำนวณเพื่อหาจำนวนเงินที่ต้องชำระ โดยอัตราจะแตกต่างกันไปตามประเภทของรายรับและจำนวนเงินได้ ซึ่งในปัจจุบันจะมีวิธีการคำนวณแบบบันไดภาษี ยิ่งรายรับสูง เปอร์เซ็นต์ที่คำนวนก็ยิ่งสูงขึ้นด้วย 
  • ค่าลดหย่อน จำนวนเงินที่สามารถนำมาหักออกจากรายรับก่อนที่จะนำไปคำนวณเงินที่ต้องชำระ ซึ่งค่าลดหย่อนมีหลายประเภท เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการศึกษา หรือลดหย่อนภาษี บ้านหลังแรก 
  • รายได้สุทธิ คือรายได้ที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว เป็นจำนวนเงินที่เราจะใช้ในวิธีคำนวณภาษี มีสูตรเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ รายได้สุทธิ = รายรับทั้งหมด - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

วิธีคิดภาษีแต่ละแบบพร้อมตัวอย่างเข้าใจง่าย

วิธีคิดภาษีเป็นขั้นตอนที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการและวิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็จะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับในประเทศไทยของเราจะสามารถคำนวณได้ 2 แบบ ประกอบไปด้วย 

วิธีคิดภาษีแบบขั้นบันได

เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะวิธีคํานวณภาษี408 ซึ่งจะใช้สำหรับคนที่มีรายได้อื่นๆ ไม่ใช่เงินได้ประเภท 40(1) – 40(7) ค่อนข้างเหมาะสำหรับคนที่มีรายรับไม่สูง เพราะอัตราเงินที่เราต้องชำระจะแปรผันไปตามรายรับที่เราได้ในปีนั้น ยิ่งรายรับต่ำเงินที่ต้องชำระก็ยิ่งต่ำ และยังเหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือน ผู้ที่มีรายได้ประจำด้วย  

  • วิธีการคำนวณ วิธีคิดภาษีบุคคลธรรมดาจะแบ่งช่วงของเงินได้สุทธิออกเป็นหลายขั้น และกำหนดอัตราเงินที่ต้องจ่ายที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละขั้น 
  • ตัวอย่างการคำนวณ วิธีคิดภาษีเงินเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับคนที่มีเงินได้สุทธิตลอดปี 500,000 บาท การคำนวณจะเป็นดังนี้ 
  • ขั้นตอนที่ 1: หาเงินได้สุทธิในแต่ละช่วง
  • 150,000 บาทแรก (อัตรา 0%)
  • 150,001 - 300,000 บาท (อัตรา 5%)
  • 300,001 - 500,000 บาท (อัตรา 10%)
  • ขั้นตอนที่ 2: คำนวณในแต่ละช่วง
  • ช่วงที่ 1: 150,000 บาท x 0% = 0 บาท
  • ช่วงที่ 2: 150,000 บาท x 5% = 7,500 บาท
  • ช่วงที่ 3: 200,000 บาท x 10% = 20,000 บาท
  • ขั้นตอนที่ 3: นำภาษีในแต่ละช่วงมารวมกัน 0 + 7,500 + 20,000 = 27,500 บาท ดังนั้น เงินที่ต้องจ่ายทั้งหมดคือ 27,500 บาท

วิธีคิดภาษีแบบเหมา

วิธีการคำนวณภาษีแบบเหมาจะเหมาะสำหรับคนที่มีรายรับนอกเหนือจากเงินเดือนให้อย่างเดียว รวมไปถึงคนที่มีรายรับในแต่ละปีค่อนข้างเยอะ เพราะจะกำหนดให้เมื่อคำนวณแล้วจะต้องเสียเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทขึ้นไป แต่ข้อดีก็คือไม่ต้องมานั่งกังวลว่ายิ่งรายรับสูงก็ยิ่งต้องเสียเงินมากขึ้นแบบขั้นบันได เพราะเราสามารถคำนวณแบบเหมาได้ง่ายๆ เลย ช่วยให้การวางแผนการเงินเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าเดิม 

  • วิธีการคำนวณ สูตรคำนวณภาษีแบบเหมาจะใช้อัตราคงที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ คูณกับเงินได้สุทธิที่เหลือหลังจากหักค่าลดหย่อนต่างๆ 
  • ตัวอย่างการคำนวณ สูตรวิธีคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมา ยกตัวอย่างเช่น รายได้ของเราทุกทางยกเว้นเงินเดือนอยู่ที่ 1 ล้านบาท ก็จะเท่ากับ 1,000,000 x 0.005 = 5,000 บาท ดังนั้น เงินที่เราต้องจ่ายทั้งหมดคือ 5,000 บาท 

ตัวช่วยในการได้สิทธิลดหย่อนภาษี

หากคุณรู้แล้วว่าวิธีคิดภาษีเป็นยังไงและรู้ตัวว่าปีนี้ต้องเสียเงินให้สรรพากรเยอะแน่นอน ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังมีสิ่งที่เรียกว่าค่าลดหย่อนที่ช่วยให้รายรับของเราในแต่ละปีถูกหักลบลงไป ซึ่งจะมีทั้งแบบที่สามารถหักได้เป็นประจำทุกปี และบางส่วนที่ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐว่าต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน โดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วย 

กลุ่มค่าลดหย่อนพื้นฐาน

เป็นส่วนที่ช่วยให้รายรับของเราในการคำนวณน้อยลงต่อเดิมอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นยังเอาจำนวนเงินที่เราวิธีคํานวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% มาหักลบออกไปได้อีก โดยสิ่งที่สามารถหักลบได้ประกอบไปด้วย

  • ส่วนตัว เป็นเงินหักลบขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับ เอาไว้ใช้สำหรับการดูแลตัวเอง 
  • คู่สมรส ใครที่คู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือเงินได้ที่มีไม่เกินไปกฎเกณฑ์ที่กำหนด เราสามารถนำเอารายรับมาหักลบเพื่อใช้เป็นค่าดูแลคู่สมรสได้ด้วย 
  • บุตร สำหรับใครที่มีลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะและมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนด สามารถนำเอารายรับมาหักลบเพื่อใช้เป็นเงินในการดูแลลูกได้ 
  • บิดามารดา สำหรับคนที่มีบิดามารดาอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ สามารถหักลบเงินสำหรับใช้ในการดูแลบิดามารดาได้ด้วย 
  • ผู้พิการ สำหรับใครที่รับดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถแสดงหลักฐานการรับดูแลเพื่อขอหักลบเงินในส่วนนี้ได้ 

กลุ่มค่าลดหย่อนจากนโยบายภาครัฐ

ในเมื่อการเสียภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนกังวล รัฐบาลจึงออกนโยบายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น การซื้อรถยนต์ไฟฟ้า การจับจ่ายใช้สอยทั่วไป หรือแม้แต่การท่องเที่ยว ให้เราสามารถนำเอาเงินที่ใช้ในกิจกรรมหรือนโยบายเหล่านี้มาหักลบจากรายได้ที่เราต้องใช้ในการคำนวณได้ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนออกมาใช้จ่ายมากขึ้น 

กลุ่มค่าลดหย่อนด้านการออมและการลงทุน

ใครกังวลเรื่องอัตราภาษีเพราะมีรายรับในแต่ละปีเยอะ หักทุกอย่างแล้วก็ยังเจออัตราที่สูงอยู่ดี เราขอแนะนำให้เอาเงินที่มีไปออมหรือลงทุนเลย เพราะเงินที่เราไปออมหรือลงทุนสามารถนำเอามาหักลบจากรายรับในการคำนวณได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น 

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นการออมเงินสำหรับใช้เมื่อเกษียณอายุ 
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นโครงการออมเพื่ออนาคต

กลุ่มค่าลดหย่อนเพื่อบริจาค

สำหรับคนที่กังวลว่าหลังจากใช้วิธีคํานวณเงินบริจาคนิติบุคคลแล้วปรากฏว่าต้องเสียเงินค่อนข้างเยอะ เราสามารถนำเอาเงินไปบริจาคเพื่อนำเอามาหักลบกับรายได้ได้ด้วย อย่างเช่น การบริจาคเพื่อพรรคการเมือง การบริจาคให้กับโรงเรียน วัด หรือโรงพยาบาล แต่ต้องมีเอกสารยืนยันการบริจาคเป็นใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง 

กลุ่มค่าลดหย่อนจากประกัน

ใครยังไม่มีประกันให้รีบทำด่วนเลย เพราะเราสามารถนำเอาเบี้ยประกันมาหักลบได้ ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยประกันชีวิต ทั้งแบบประกันออมเงินและประกันบำนาญ ขอเพียงแค่กรมธรรม์มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปก็สามารถนำเอาเบี้ยประกันมาหักได้ รวมไปถึงเบี้ยประกันสุขภาพของทั้งตัวเองและบิดามารดาก็สามารถนำเอามาหักได้ด้วยเหมือนกัน 

กลุ่มค่าลดหย่อนจากอสังหาริมทรัพย์

ใครที่กำลังสนใจอยากมีบ้านหลังแรกและอยากประหยัดเงินไปด้วย รู้หรือไม่ ว่าดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้ ช่วยให้เวลาวิธีการคิดภาษี รายรับของเราที่ต้องนำเอาไปคำนวณก็จะน้อยลงกว่าเดิม เป็นการกระตุ้นให้คนอยากซื้อบ้านเป็นของตัวเอง 

สรุป

วิธีคิดภาษีคือคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องชำระให้กับรัฐบาลจากเงินที่ได้รับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน คำนวณฐานภาษีมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยขึ้นอยู่กับประเภทของรายรับ ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักลดหย่อน และอัตราที่กำหนดไว้ในแต่ละปี 

ยังไม่รวมไปถึงวิธีคิดภาษีป้ายและวิธีคิดภาษีนิติบุคคลที่จะทำให้คุณเวียนหัวหนักขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าเราสามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องและไม่ตกหล่นสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่ควรได้รับ ก็จะช่วยให้การวางแผนล่วงหน้าง่ายขึ้น สามารถลดภาระเงินที่ต้องจ่ายได้อย่างถูกกฎหมายและมีประสิทธิภาพ

สำหรับใครที่อ่านแล้วปวดหัว ไม่ต้องกังวล เพราะเดี๋ยวนี้มีผู้ให้บริการอย่าง refinn ที่ปรึกษาทางการเงินที่จะช่วยให้การบริหารสภาพคล่องเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าเดิม มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำกับคุณทุกเรื่องด้านการเงิน ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี การขอสินเชื่อ รีไฟแนนซ์ รวมไปถึงการสมัครบัตรเครดิต เปิดบัญชี ซื้อประกัน ที่นี่ให้บริการทางการเงินแบบครอบคลุมรอบด้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปดำเนินการด้วยตัวเอง ให้คุณสามารถจัดการการเงินได้ด้วยการคลิกแค่ปลายนิ้วเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2567
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม