รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี? รวมเรื่องควรรู้ในการยื่นภาษี ปี 2567
รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี? รวมเรื่องควรรู้ในการยื่นภาษี ปี 2567

รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี? ข้อควรรู้สำหรับผู้ยื่นภาษีครั้งแรก

เรื่องที่ชาว First Jobber หรือคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ต้องรู้เลยคือเรื่องของภาษีนั่นเองครับ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่ารายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี แล้วถ้ารายได้ไม่เกิน1.8ล้านเสียภาษีเท่าไหร่ วันนี้ Refinn สรุปข้อมูลที่ย่อยให้เข้าใจง่ายมาให้แล้วครับ

รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี?

อีกข้อที่หลายคนสงสัยก็คือ แล้วต้องมีรายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี รายได้300000เสียภาษีเท่าไหร่สำหรับบุคคลที่มีเงินได้เฉพาะเงินเดือนเกิน 319,000 บาทต่อปีขึ้นไปและถึงแม้ว่ารายได้ของเราจะไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ต้องจ่ายภาษี

ภาษีบุคคลธรรมดา คืออะไร?

ภาษีบุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำ งานฟรีแลนซ์ รวมถึงเจ้าของกิจการ นอกจากนี้ภาษีบุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ของบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่บริษัทหรือองค์กร โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการเก็บภาษีตามระดับรายได้ของแต่ละคน ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการกระจายภาระทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมในสังคม

รายได้ตลอดทั้งปีนับรวมอะไรบ้าง?

รายได้ตลอดทั้งปีนับรวมอะไรบ้าง

รายได้ตลอดทั้งปี คือ เงินเดือนรวมจากทุกแหล่งรายได้ ทั้งงานประจำ งานพิเศษและรายได้จากการลงทุน รายได้ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ครับ

1. รายได้จากการทำงาน

  • เงินเดือน
  • โบนัส
  • ค่าล่วงเวลา (OT)
  • เบี้ยเลี้ยงหรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้
  • สวัสดิการที่มีมูลค่าเป็นเงิน เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก

2. รายได้จากการลงทุน

  • ดอกเบี้ยจากเงินฝาก (ที่ไม่เข้าข่ายยกเว้นภาษี)
  • เงินปันผลจากการลงทุน
  • รายได้จากการขายหุ้นหรือทรัพย์สินทางการลงทุน

3. รายได้จากทรัพย์สิน

  • ค่าเช่าที่ดิน บ้าน หรืออาคาร
  • ค่าลิขสิทธิ์
  • รายได้จากการให้เช่าสิ่งของ เช่น รถยนต์

4. รายได้จากการประกอบธุรกิจหรืออาชีพอิสระ

  • รายได้จากการค้าขาย
  • ค่าจ้างหรือค่าบริการในฐานะฟรีแลนซ์
  • ค่านายหน้าหรือค่าที่ปรึกษา

5. รายได้จากแหล่งอื่น ๆ

  • รายได้จากการขายทรัพย์สิน (เช่น บ้านหรือที่ดิน)
  • รางวัลที่ได้รับ เช่น การชนะการแข่งขัน หรือรางวัลส่งเสริมการขาย
  • รายได้จากการรับมรดก

  • ข้อที่ควรทำความเข้าใจคือรายได้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากหรือเงินปันผลที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% จะไม่ต้องรวมในรายได้ตลอดทั้งปีนั่นเองครับ
  • การทำความเข้าใจว่ารายได้ตลอดทั้งปีครอบคลุมอะไรบ้าง จะช่วยให้คุณคำนวณภาษีได้ถูกต้อง และวางแผนใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วยครับ

ตารางสรุปเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษียังไงบ้าง?

ตารางสรุปเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

อีกหนึ่งข้อที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับอัตราเสียภาษี ซึ่งการคิดภาษีแบบขั้นบันไดคือการจ่ายภาษีเฉพาะ ส่วนที่เกิน ในอัตราภาษีที่สูงขึ้น ไม่ใช่ว่าทั้งรายได้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงสุด ตัวอย่างเช่น หากรายได้สุทธิ 800,000 บาท จะเสียภาษีในแต่ละขั้น เช่น 5% สำหรับส่วนรายได้ 150,001-300,000 บาท และ 20% เฉพาะส่วนที่เกิน 750,000 บาท ไม่ใช่ทั้งหมด 800,000 บาทต้องเสียในอัตรา 20% ดังนั้น ยิ่งรายได้สูง อัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นจะคำนวณแค่ส่วนที่เกินในขั้นนั้น ๆ ครับ

อีกนึ่งตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจวิธีการคำนวณภาษีมากขึ้น เช่น

หากรายได้สุทธิ 800,000 บาท

  • ช่วง 150,001 - 300,000 เสีย 5% = 7,500 บาท
  • ช่วง 300,001 - 500,000 เสีย 10% = 20,000 บาท
  • ช่วง 500,001 - 750,000 เสีย 15% = 37,500 บาท
  • ช่วง 750,001 - 800,000 (50,000 บาท) เสีย 20% = 10,000 บาท

รวมภาษีที่ต้องจ่าย = 75,000 บาท

วิธีการคำนวณค่าภาษีเบื้องต้น ฉบับเข้าใจง่าย!

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจดูซับซ้อนในตอนแรก แต่จริง ๆ แล้วเพียงเข้าใจหลักการพื้นฐานก็ช่วยให้การคำนวณและวางแผนจัดการภาษีง่ายขึ้นแล้วครับ โดยเป้าหมายหลักคือการนำรายได้ที่เราได้รับทั้งปีมาคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ เพียงเท่านี้เราก็จะรู้ได้ว่า เสียภาษีรายได้เท่าไหร่

ซึ่งการคำนวณภาษีรายได้ส่วนบุคคลเริ่มจากการรวบรวมรายได้รวมทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน รายได้จากธุรกิจ หรือรายได้พิเศษต่าง ๆ จากนั้นนำรายได้รวมมาหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับพนักงานประจำสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ต่อด้วยการหักค่าลดหย่อน เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท หรือค่าลดหย่อนสำหรับบุตรและคู่สมรส เมื่อนำรายได้รวมมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว จะได้รายได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษี

ตัวอย่างเช่น 

หากรายได้รวมทั้งปีคือ 360,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และค่าลดหย่อน 69,000 บาท จะเหลือรายได้สุทธิ 191,000 บาท ซึ่งจะเสียภาษีตามอัตราขั้นบันได โดยรายได้ส่วนแรก 150,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่เกินมา 41,000 บาท จะเสียภาษีในอัตรา 5% คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่ายเพียง 2,050 บาท การคำนวณภาษีเบื้องต้นนี้ช่วยให้คุณเข้าใจภาระภาษี และสามารถวางแผนการใช้สิทธิ์ลดหย่อนเพื่อลดภาระภาษีได้ดียิ่งขึ้นครับ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการยื่นภาษี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการยื่นภาษี

ทั้งนี้ในทุก ๆ สิ้นปีก็จะมาหลายคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับการยื่นภาษี ซึ่งผมก็ได้มีการไปรวบรวมคำถามที่คนส่วนใหญ่ถามและคิดว่าน่าจะเป็นคำถามสำคัญมาให้เพื่อน ๆ แล้ว เรามาดูกันครับว่ามีคำถามอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ยังไง

ซื้อบ้านเพื่อลดหย่อนภาษีได้ไหม?

การซื้อบ้านสามารถใช้ลดหย่อนภาษี ‘ได้’ ลดหย่อนภาษี บ้านหลังแรก ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด โดยผู้ที่กู้ซื้อบ้านสามารถนำ ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี มาหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

ซึ่งเป็นการลดหย่อนสำหรับที่อยู่อาศัยที่ใช้พักอาศัยจริงเท่านั้น นอกจากนี้ ในบางปีรัฐบาลอาจมีมาตรการส่งเสริมเพิ่มเติม เช่น การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในแต่ละปี ดังนั้น หากคุณกำลังวางแผนซื้อบ้าน นอกจากจะเป็นการลงทุนในที่อยู่อาศัย ยังสามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยครับ เปรียบเสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวนั่นเองครับ

รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องยื่นภาษี?

มาถึงข้อที่หลายคนสงสัยกันครับว่า รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องยื่นภาษี ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี โดยเกณฑ์คือ หากรายได้จาก เงินเดือนอย่างเดียว ไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 65 ปี หรือ 190,000 บาทต่อปี

สำหรับผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป จะไม่ต้องยื่นภาษี สำหรับรายได้ประเภทอื่น เช่น รายได้จากค่าเช่าหรือดอกเบี้ย หากรายได้รวมไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องยื่นภาษีเช่นกัน แต่ในกรณีที่มีรายได้หลายประเภทที่รวมกันแล้วเกิน 120,000 บาทต่อปี จะต้องยื่นแบบภาษี แม้รายได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนจะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ตามครับ

รายได้ 2 ล้านเสียภาษีเท่าไหร่?

มาดูการคำนวณว่ารายได้2ล้านเสียภาษีเท่าไหร่ ซึ่งภาษีสำหรับรายได้ 2,000,000 บาทต่อปี เริ่มจากการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายมาตรฐานเงินเดือน 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท หากสมมติว่ามีค่าลดหย่อนอื่น ๆ รวม 140,000 บาท รายได้สุทธิจะเหลือ 1,700,000 บาท หลังจากนั้นนำรายได้สุทธิมาคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า

โดยรายได้ส่วนแรก 150,000 บาทแรกจะได้รับการยกเว้น ในภาษีส่วนถัดมาจะคิดที่อัตรา 5%-25% ตามขั้นรายได้ รวมแล้วภาษีที่ต้องจ่ายสำหรับรายได้สุทธิ 1,700,000 บาท คือ 290,000 บาท ทั้งนี้ จำนวนภาษีจริงอาจปรับเปลี่ยนตามค่าลดหย่อนเฉพาะบุคคล

ยื่นภาษีช่องทางไหนได้บ้าง?

การยื่นภาษีสามารถทำได้หลายช่องทาง โดยช่องทางที่สะดวกที่สุดคือการยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร e-Filing ทั้งสะดวกไม่ต้องเดินทาง แถมยังช่วยลดเวลาและสามารถทำได้เองตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นแบบเอกสาร สามารถดำเนินการที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในเขตของตนเอง นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชัน RD Smart Tax ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการยื่นภาษีผ่านมือถือ หรือหากไม่สะดวกดำเนินการเอง สามารถมอบอำนาจให้ตัวแทน เช่น นักบัญชี หรือที่ปรึกษาด้านภาษีดำเนินการแทนได้เช่นกันครับ

สรุป

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจดูซับซ้อน แต่หากเข้าใจวิธีคิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนบริหารจัดการเงินและลดหย่อนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนจากรายจ่ายส่วนตัว การลงทุน หรือการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย

หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยของหลาย ๆ คนว่า รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี หากใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่มั่นใจหรือต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและจัดการรายจ่ายอย่างมืออาชีพ Refinn พร้อมเป็นตัวช่วยสำคัญในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์บ้าน การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ สามารถติดต่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยให้คุณทั้งประหยัดเงินและบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยครับ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 02 ธ.ค. 2567
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม