ซื้อบ้านหลังแรกลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน 2567
คำว่าภาษีแค่นึกถึงก็ต้องปวดหัวกันแล้ว เนื่องจากการคำนวนภาษีถือว่ามีความยุ่งยากในระดับหนึ่ง นอกจากเรื่องคำนวณแล้วเราก็ต้องมีวิธีการมองหาช่องทางลดดอกเบี้ยบ้านที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งผมต้องบอกเลยว่ามีหลากหลายวิธีมาก หนึ่งในนั้นคือการซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ซึ่งเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่ทราบ ว่าเราสามารถลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้ด้วยนะ ซึ่งในการลดหย่อนบ้านหลังแรกจะทำยังไง แล้วมีขั้นตอนยังไงบ้าง เดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก คืออะไร
การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก คือ การในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีจุดประสงค์เพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น โดยในการกู้เพื่อซื้อบ้านหลังแรก แน่นอนว่าเราจะต้องมีการผ่อนชำระหนี้โดยการจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งประเด็นจะอยู่ที่ดอกเบี้ยครับ เพราะว่าดอกเบี้ยบ้านหลังแรกลดหย่อนภาษีได้นั่นเอง แต่จะไม่รวมกับยอดของเงินต้น หมายความว่าเราเสียดอกเบี้ยมากเท่าไหร่ เราก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้มากเท่านั้นนั่นเองครับ
เรื่องต้องรู้ ก่อนขอลดหย่อนบ้านหลังแรก
ในการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก เรามักจะมีคำถามต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้น จากการที่แต่ละคนมีการกู้หรือการเสียดอกเบี้ยที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นแล้วผมจะบอกเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับเพื่อนในเรื่องของลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกกันครับ
ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้สูงสุดเท่าไหร่
ตามกฎหมายกำหนดแล้ว การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกจะอยู่ที่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้
- ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกเต็มจำนวน ถ้าหากมียอดดอกเบี้ยที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้มากกว่า 100,000 บาท ก็จะสามารถนำไปลดหย่อนได้เต็มจำนวนเพียง 100,000 บาท เท่านั้น
- ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกตามจำนวนจริง ถ้าหากยอดดอกเบี้ยที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้มีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนดังกล่าว ซึ่งไม่ถึง 100,000 บาท
ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกกู้ร่วมได้ไหม
แน่นอนว่าสามารถลดหย่อนได้ครับ ซึ่งสามารถได้สิทธิ์การลดหย่อนถึง 2 สิทธิ์ทั้งจากผู้กู้ และผู้กู้ร่วม แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีจำนวนลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกเท่ากัน เช่น ผู้กู้ และผู้กู้ร่วม สามารถลดหย่อนภาษีบ้านต่อปีได้คนละ 70,000 บาท รวมเป็น 140,000
แต่ว่าตามกฎหมายกำหนดแล้วการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกทำได้ไม่เกิน 100,000 บาท เท่ากับว่าใน 1 ปี ผู้กู้ กับผู้กู้ร่วมจะสามารถลดหย่อนภาษีได้คนละ 50,000 บาท
มีการตรวจสอบแหล่งที่มาของดอกเบี้ยเงินกู้บ้านหรือไม่
ต้องบอกว่ามีการตรวจสอบครับ เนื่องจากว่ากรมสรรพากรจะมีการกำหนดว่าดอกเบี้ยที่มีการกู้ยืมมานั้น จะต้องเป็นเงินที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา และรายละเอียดอื่น ๆ ได้ตามกฎหมายนั่นเองครับ
ข้อกำหนดการลดหย่อนหลังซื้อบ้านหลังแรก
นอกจากเรื่องของอัตราลดหย่อนต่อปีที่ทางกฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ถ้าหากต้องการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกต้องรู้ โดยผมจะมาอธิบายให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจง่ายกันครับ ลองไปดูกันว่ามีข้อกำหนดอะไรที่ต้องทำตามกันบ้าง
- ดอกเบี้ยของเงินกู้ต้องเป็นตามสัญญากู้เพื่อการซื้อ หรือเช่าซื้ออสังหาฯ เท่านั้น
- ต้องมีหลักประกันในการกู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นการจำนองบ้าน คอนโด ฯลฯ โดยระยะเวลาจำนองจะเท่ากับเวลาที่กู้ยืม
- ดอกเบี้ยเงินกู้ต้องมาจากการกู้เงินจากผู้ประกอบการในประเทศเท่านั้น
- ผู้ครอบครองอสังหาฯ มากกว่า 1 บ้านหลังแรกลดหย่อนภาษีได้
คุณสมบัติในการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกตามที่กรมสรรพากรกำหนด
มาขนาดนี้แล้วเพื่อน ๆ ก็อย่าพึ่งตกใจกลัวไปครับ เพราะว่าในการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกจะต้องมีการตรวจคุณสมบัติจากกรมสรรพากรที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน โดยผมจะมาโชว์ให้เพื่อน ๆ ดูกันว่ารายได้ต่อปีของแต่ละคนจะต้องมีการเสียภาษีเท่าไหร่บ้าง ลองไปดูกันครับ
- เงินเดือนต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 150,001 - 300,000 บาท เสียภาษีหักจากรายได้ 5%
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 300,001 - 500,000 บาท เสียภาษีหักจากรายได้ 10%
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 500,001 - 750,000 บาท เสียภาษีหักจากรายได้ 15%
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 750,001 - 1,000,000 บาท เสียภาษีหักจากรายได้ 20%
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 1,000,001 - 2,000,000 บาท เสียภาษีหักจากรายได้ 25%
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 2,000,001 - 5,000,000 บาท เสียภาษีหักจากรายได้ 30%
- เงินเดือนต่อปีตั้งแต่ 5,000,001 บาท เป็นต้นไป เสียภาษีหักจากรายได้ 35%
ตัวอย่างวิธีคำนวณการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก
เพื่อน ๆ แต่ละคนจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันออกไป ทำให้การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกก็จะแตกต่างกัน เพราะงั้นแล้วผมเลยมีวิธีคำนวณการเสียดอกเบี้ยลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก คิดยังไง ผมจะพาไปลองครับ
ตัวอย่าง:
นายฟินน์ต้องผ่อนบ้านเดือนละ 18,000 บาท เป็นเงินต้น 12,000 บาท และดอกเบี้ย 6.000 บาท ส่งผลให้ใน 1 ปี นายฟินน์จะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด 72,000 บาท เท่ากับว่านายฟินน์สามารถลดหย่อนภาษีต่อปีได้สูงสุด 72,000 บาท นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าในการคำนวณนั้นไม่ยากเลยครับ ถ้าเรามีการชำระดอกเบี้ยรายปีรวมเท่าไหร่ ก็เท่ากับลดหย่อนภาษีได้เท่านั้น แต่อย่าลืมว่าลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้มากที่สุด 100,000 บาทต่อปี เท่ากับว่าถ้าเพื่อน ๆ มียอดชำระดอกเบี้ยมากกว่า 100,000 บาทต่อปี เราจะสามารถลดหย่อนได้เพียง 100,000 บาทนั้นเองครับ
เอกสารที่ต้องใช้เพื่อขอลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก
สำหรับเอกสารสำคัญเพื่อยื่นลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกก็ถือว่าไม่ยุ่งยากและไม่เยอะอย่างที่คิดครับ โดยที่ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก เอกสารจะประกอบไปด้วย
- สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน
- หนังสือรับรองว่าเป็นการซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก
- หนังสือรับรองเงินชำระค่าอสังหาริมทรัพย์
- สำเนาสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน หรือท.ด. ๑๓ ที่มีตราครุฑ
สรุป
จะเห็นได้ว่าเรื่องของภาษีกับการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกถือว่าไม่ใช่เรื่องยากกว่าที่คิด เพียงใช้เวลาทำความเข้าใจเล็กน้อยเท่านั้น แต่ผมต้องบอกว่าการลดหย่อนภาษีบ้านถือเป็น 1 ทางในการประหยัดเงินที่อาจยังไม่ได้มีความคุ้มค่าสูงที่สุด
เพราะในการรีไฟแนนซ์บ้าน สามารถประหยัดเงินของเราได้มากกว่า 100,000 บาทจากการลดปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่สูง ซึ่งถ้าหากว่าเพื่อน ๆ ผ่อนบ้านครบ 3 ปีแล้วยังไม่ได้รีไฟแนนซ์ สามารถรีบมาดำเนินการได้ที่ Refinn ครับ อย่าปล่อยให้การผ่อนบ้านต้องแลกไปด้วยการเสียดอกเบี้ยมหาศาล เพราะบ้านที่รอการเป็นเจ้าของอาจต้องใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็น
และถ้าใครต้องการลดดอกเบี้ยบ้านแต่ไม่อยากย้ายไปธนาคารใหม่คงมีคำถามขึ้นมาว่า รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ไหม คำตอบก็คือได้ครับซึ่งการทำแบบนี้เราเรียกว่าการรีเทนชั่น และนอกจากนี้ในกรณที่ต้องการวงเงินกู้เพิ่มไปพร้อม ๆ กับกาลดดอกเบี้ยก็ยังมีสินเชื่อที่เรียกว่ารีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินให้เลือกสมัครอีกด้วย