สินเชื่อ OD คืออะไร สินเชื่อเงินเบิกเกินบัญชีที่ผู้ประกอบการ SME ควรรู้
ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันสูง การเข้าถึงเงินทุนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต สินเชื่อ OD นับเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้เป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ ว่าสินเชื่อ OD ธนาคารทั้งหลายยังมีอีกประเภท นั่นก็คือสินเชื่อผู้ซื้อบ้านผู้สูงอายุนั่นเอง เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสินเชื่อเหล่านี้กันว่ามันคืออะไร และมีเรื่องอะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจกู้กันบ้าง
สินเชื่อ OD คืออะไร
สำหรับคนธรรมดาทั่วไปอาจจะไม่คุ้นชินกับสินเชื่อ OD เนื่องจากสินเชื่อ OD คือสินเชื่อธุรกิจ เป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารจะอนุญาตให้เราสามารถเบิกเงินออกมาจากบัญชีได้มากกว่ายอดที่คงเหลืออยู่ในบัญชี โดยจะมีการกำหนดวงเงินล่วงหน้า
นอกเหนือจากนี้ ยังมีสินเชื่อในลักษณะเดียวกันอีกหนึ่งประเภทนั่นก็คือสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ สินเชื่อดังกล่าวจะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณ โดยธนาคารจะเป็นผู้ซื้อบ้าน มีการจ่ายค่างวดให้กับเราในแต่ละเดือน เมื่อเราเสียชีวิตไปแล้วหรือครบกำหนดสัญญา ธนาคารจะสามารถนำเอาบ้านไปขายทอดตลาดหรือขายคืนให้กับทายาทก็ได้ ค่อนข้างตอบโจทย์สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีบำเหน็จบำนาญเลยทีเดียว
ข้อดีของสินเชื่อ OD สำหรับผู้ประกอบการ
สำหรับผู้ประกอบการ สินเชื่อ OD ถือเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่เต็มไปด้วยข้อดีมากมาย นอกเหนือจากนี้ยังมีสินเชื่อ OD ไม่ใช้หลักประกันที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ประกอบการมือใหม่อีกด้วย ค่อนข้างตอบโจทย์การทำธุรกิจมากกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อประเภทนี้จะมีข้อดียังไงบ้าง เราจะพาทุกคนไปดูกัน
- ความคล่องตัวสูง สามารถเบิกเงินออกมาใช้ได้ตลอดเวลาตามความต้องการ
- จ่ายดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่เบิกใช้ ช่วยลดภาระทางการเงิน ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับวงเงินที่ไม่ได้ใช้งาน
- วงเงินหมุนเวียน เป็นเหมือนเงินทุนสำรอง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความไหลรื่นทางการเงิน
- ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว เมื่อมีโอกาสทางธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถใช้เงินขยายธุรกิจได้อย่างทันท่วงที
เอกสารและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อ OD เชื่อว่าหลายคนคงสนใจสินเชื่อ OD กู้ซื้อบ้านสำหรับผู้สูงอายุกันไม่น้อย สำหรับสินเชื่อ OD ใช้หลักประกันเอกสารที่ต้องเตรียมจะเยอะกว่าเล็กน้อย สำหรับการขอสินเชื่อประเภทนี้จะต้องเตรียมเอกสารอะไรและมีเงื่อนไขยังไงบ้าง เราจะพาทุกคนไปดูกัน
เงื่อนไข
- เป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 80 ปี
- ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- มีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันแต่เพียงผู้เดียว กรณีที่ไม่มีคู่สมรส
- หลักประกันต้องเป็นที่อยู่อาศัยหลักของผู้กู้และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตลอดระยะเวลาการกู้
- หลักประกันต้องไม่ตั้งอยู่บนที่ดินสวน ไร่ นา
เอกสารที่ใช้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส ใบมรณะบัตร หรือใบหย่า
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล
- สำเนาโฉนดที่ดินหรือ น.ส.3ก.
- หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- ทะเบียนบ้านหลักประกัน
ค่าใช้จ่ายสำหรับการขอสินเชื่อ OD
โดยทั่วไปแล้วการขอสินเชื่อ OD ธนาคารบางแห่งที่ให้บริการ ก็อาจจะมีการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมได้ นั่นก็คือค่าธรรมเนียมการประเมินราคาหลักทรัพย์ประเภทสินเชื่อเคหะ ค่าตรวจสอบสภาพที่ดินหรืออาคาร ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ กรณีใช้บริการบริษัทประเมิน
และอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่หลายคนนึกไม่ถึงก็คือสินเชื่อ OD ดอกเบี้ยนั่นเอง แม้ว่าเราจะเป็นคนได้เงินจากการขอสินเชื่อตัวนี้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ดอกเบี้ยสูง เงินที่เราจะได้รับในแต่ละเดือนก็จะน้อยลงเช่นกัน เป็นค่าใช้จ่ายแฝงของสินเชื่อ OD ที่หลายคนลืมคำนวณไป
การขอสินเชื่อ OD และสินเชื่อเงินก้อนต่างกันอย่างไร
เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่าสินเชื่อ OD สำหรับการซื้อบ้านของผู้สูงอายุแตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อนยังไง และยังมีเรื่องที่ว่าเปิด OD กับธนาคารคืออะไรอีกต่างหาก เราจึงจะพาทุกคนมาแยกความแตกต่างของสินเชื่อทั้ง 3 ตัวนี้กัน
- สินเชื่อ OD คือสินเชื่อซื้อบ้านผู้สูงอายุ เป็นสินเชื่อย้อนกลับที่ธนาคารจะเป็นผู้ซื้อบ้าน และจ่ายเงินให้กับเรารายเดือนเหมือนผ่อนค่างวด
- การเปิดบัญชี OD เป็นสินเชื่อสำหรับธุรกิจ มีชื่อเรียกง่ายๆ ว่าเงินเบิกเกินบัญชี เอาไว้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ
- สินเชื่อเงินก้อน เป็นสินเชื่อที่เรากู้เงินก้อนมาจากสถาบันการเงิน จากนั้นเราต้องเป็นคนผ่อนชำระหนี้คืนให้กับธนาคาร สำหรับใครที่สงสัยว่าสินเชื่อกับไฟแนนซ์ต่างกันยังไง สามารถคลิกเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย
ข้อควรระวังสำหรับการขอสินเชื่อ OD
ถึงแม้ว่าสินเชื่อ OD จะค่อนข้างน่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุที่รับมือเมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว ไม่มีเงินก้อน ไม่มีเงินบำเหน็จมานาน ทำให้ผ่อนบ้านไม่ไหว ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงมีข้อควรระวังเช่นกัน เพราะเมื่อเราเสียชีวิตไปแล้วหรือได้เงินครบหมดเรียบร้อยแล้ว บ้านก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร กรณีที่เราเสียชีวิตไปแล้ว ลูกหลานของเราก็อาจจะไม่มีบ้านอยู่ แต่หากเรายังไม่เสียชีวิต เราก็ต้องย้ายออกจากบ้านหลังนั้นอยู่ดี และยังมีเรื่องดอกเบี้ยที่หากสูงขึ้น เราก็ได้เงินรายเดือนน้อยลงด้วย เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาความคุ้มค่าให้ดีก่อนตัดสินใจ
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยของสินเชื่อ OD
ความแตกต่างของสินเชื่อ OD สำหรับคนที่ต้องการจะวางแผนรับมือเมื่อผ่อนบ้านไม่ไหวยามเกษียณกับผู้กู้ที่ทำธุรกิจนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สำหรับสินเชื่อสำหรับคนผ่อนบ้านไม่ไหวคงสงสัยว่าแล้วเราจะคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร เราจึงจะพาทุกคนมายกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดกัน
อย่างเช่น เราขอกู้สินเชื่อ OD เพื่อซื้อบ้านกับธนาคาร โดยได้รับวงเงินของสินเชื่อ OD 2.5 หากเราไม่รับเงินก้อนแรก 10% จากวงเงิน ดอกเบี้ยก็จะค่อนข้างต่ำ แต่หากเราเบิกเงินก้อนแรก 10% ดอกเบี้ยก็จ่ายสูงกว่า จากนั้นในแต่ละเดือนธนาคารจะจ่ายเงินให้กับเราตามที่กำหนดเอาไว้
ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยก็จะเหมือนกับการคำนวณดอกเบี้ยบ้านทั่วไป นั่นก็คือใช้สูตร ดอกเบี้ยที่ต่องวด = (เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวดนั้น) ÷ จำนวนวันในหนึ่งปี โดยดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบจากอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้ผู้กู้ได้รับเงินรายเดือนน้อยลงกว่าตอนทำสัญญา
สรุปสินเชื่อ OD
สรุปแล้ว สินเชื่อ OD (Overdraft) คือเงินเบิกเกินบัญชีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ให้เงินหมุนเวียนในธุรกิจมีความคล่องตัว แต่ก็มีสินเชื่อประเภทนี้สำหรับการกู้บ้านของผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน เรียกว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบย้อนกลับ คือธนาคารจะซื้อบ้านและนำเอาเงินเข้าบัญชีให้กับผู้กู้เป็นประจำทุกเดือน เป็นวิธีการรับมือเมื่อผ่อนบ้านไม่ไหวที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลผ่านทาง Refinn ได้เลย เพราะเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขอสินเชื่อเอาไว้แบบครบ จบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อผู้ซื้อบ้านสำหรับผู้สูงอายุหรือจะขอสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไหนดี ให้คุณสามารถเปรียบเทียบสินเชื่อได้ง่ายๆ มีบริการยื่นขอสินเชื่อฟรี และยังสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินก่อนตัดสินใจได้อีกด้วย หมดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวแน่นอน