โอนรถต้องทำยังไง ขั้นตอนการเปลี่ยนเจ้าของรถมีอะไรบ้าง 2567
หากพูดถึงการทำธุรกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ นอกจากการรีไฟแนนซ์รถ ไม่ว่าจะ รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด หรือการขอสินเชื่อรถ ที่คนใช้รถควรรู้ อีกหนึ่งธุรกรรมรถยนต์ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ‘การโอนรถ’ หรือการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถจากคนเดิมสู่เจ้าของรถคนใหม่ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจการโอนรถมากขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลย
การโอนรถ เปลี่ยนกรรมสิทธิ์รถคืออะไร
การโอนรถ คือ การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของรถยนต์ จากเจ้าของรถคนเดิมสู่เจ้าของรถคนใหม่ โดยการโอนรถสามารถเกิดขึ้นได้จากการซื้อขายรถยนต์มือสอง หรือการส่งต่อรถจากคนในครอบครัว ซึ่งความสำคัญของการโอนรถนั้นจะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในทางกฎหมาย หากไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์รถเปลี่ยนเจ้าของ แล้วเจ้าของใหม่เกิดทำรถไปประสบอุบัติเหตุ แล้วเป็นฝ่ายผิด เจ้าของรถคนเดิมจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อความผิดครั้งนี้ด้วย
การโอนรถมีกี่รูปแบบ ต่างกันยังไง
ก่อนที่จะโอนรถหรือขอสินเชื่อรถ เราต้องรู้ก่อนว่าสินเชื่อรถมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างเพื่อให้เราสามารถเลือกสมัครสินเชื่อรถได้ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด
การโอนรถแบบ ‘โอนตรง’
การโอนตรง คือการโอนรถโดนที่เจ้าของรถคนเก่าและคนใหม่เดินทางไปดำเนินเรื่องโอนรถกับนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่ง โดยรถที่โอนนั้นจะต้องมีสภาพตรงกับข้อมูลในคู่มือจดทะเบียนรถ หากสภาพรถไม่ตรง จะต้องดำเนินการแก้ไขข้อมูลในทะเบียนรถให้ตรงกับสภาพจริงในปัจจุบันก่อนจึงจะโอนรถได้
ข้อดี
- ปลอดภัย โปร่งใส ต่อทั้งคนซื้อและคนขาย
- สามารถตรวจสอบข้อมูลอื่น ๆ ของรถที่โอนได้
- ประหยัดเวลา ไม่ต้องติดต่อดำเนินการผ่านคนกลาง
การโอนรถแบบ ‘โอนลอย’
การโอนลอย คือการโอนรถที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะการซื้อขายรถมือสอง โดยที่เจ้าของรถคนเดิมมอบเอกสารให้กับเจ้าของรถรายใหม่ เพื่อให้เจ้าของใหม่ดำเนินการกับนายทะเบียน ณ กรมขนส่งทางบกด้วยตนเอง หลังจากสิ้นสุดการซื้อขาย
ข้อดี
- ลดขั้นตอนยุ่งยากในการดำเนินการ
- ไม่ต้องเดินทางไปทำเรื่องที่กรมขนส่งทางบก
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการโอนรถ
การดำเนินการโอนรถทั้งแบบโอนตรง โอนลอย หรือโอนให้ญาติ จะต้องมีการเตรียมเอกสารโอนรถ หลัก ๆ ดังนี้
เอกสารโอนรถแบบโอนตรง
1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือเล่มทะเบียนรถฉบับจริง
2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน
3.หลักฐานสัญญาซื้อขายรถ
4.ใบคำขอโอนและรับโอน โดยต้องมีลายเซ็นของเจ้าของเดิมและเจ้าของใหม่
เอกสารโอนรถแบบโอนลอย
1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือเล่มทะเบียนรถฉบับจริง
2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน
3.หลักฐานสัญญาซื้อขายรถ
4.ใบคำขอโอนและรับโอน โดยต้องมีลายเซ็นของเจ้าของเดิมและเจ้าของใหม่
5.หนังสือมอบอํานาจ โอนรถ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ
เอกสารการโอนรถให้ญาติ (มรดก)
1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือเล่มทะเบียนรถฉบับจริง
2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน
3.หลักฐานสัญญาซื้อขายรถ
4.ใบคำขอโอนและรับโอน โดยต้องมีลายเซ็นของเจ้าของเดิมและเจ้าของใหม่
5.สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถเดิม กรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต
6.หนังสือมอบอํานาจ โอนรถ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ
ขั้นตอนการโอนรถ
การดำเนินการเพื่อโอนรถนั้น สามารถดำเนินการง่าย ๆ ภายใน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.ติดต่อกรมขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่ง เพื่อนำรถยนต์ที่เปลี่ยนเจ้าของตรวจเช็กสภาพรถ
2.ติดต่อเจ้าหน้าที่ สำหรับการขอยื่นเรื่องโอนรถ โดยเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อม และชำระค่าธรรมเนียม
3.รอรับเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ
ขั้นตอนการโอนประกันรถ
นอกจากการโอนรถแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือการโอนประกันรถ เพื่อย้ายกรมธรรม์ความคุ้มครอง โดยขั้นตอนการโอนประกันรถ มีดังนี้
1.การโอนประกันรถยนต์แบบระบุผู้ขับขี่
เป็นการโอนประกัน โดยที่เจ้าของรถคันใหม่จะต้องดำเนินการแจ้งขอเปลี่ยนชื่อกับทางบริษัทประกันภัย เพื่อย้ายกรมธรรม์สู่ผู้รับโอน
เอกสารที่ใช้สำหรับโอนประกันรถระบุผู้ขับขี่
- เอกสารการยินยอมโอนชื่อผู้รับผลประโยชน์ ที่เจ้าของกรมธรรม์ ยื่นเรื่องกับทางบริษัทประกันภัย
- หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ ระหว่างเจ้าของรถเดิมกับเจ้าของใหม่
ขั้นตอนการโอนประกันรถ
- เจ้าของกรมธรรม์หรือเจ้าของรถเดิม ดำเนินการเซ็นโอนชื่อผู้รับผลประโยชน์ให้กับเจ้าของรถใหม่
- เจ้าของรถใหม่ ดำเนินการยื่นเอกสารกรมธรรม์และหลักฐานการซื้อขายรถ ให้กับบริษัทประกันภัย
- บริษัทประกันภัยจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรมธรรม์ ให้เป็นของเจ้าของใหม่
2.การโอนประกันรถยนต์ที่ไม่ระบุผู้ขับขี่
ในกรณีที่เป็นการโอนประกันแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ เจ้าของใหม่จะสามารถได้รับความคุ้มครองต่อจากเจ้าของเดิมได้เลย เพราะสิทธิ์กรมธรรม์จะติดมาพร้อมกับตัวรถ แต่เจ้าของรถใหม่ควรดำเนินการแจ้งข้อมูลและส่งเอกสารกับบริษัทประกันภัยเพื่อปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
เอกสารการโอนประกันไม่ระบุผู้ขับขี่
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของเดิม ที่มีการเซ็นยินยอมโอนกรมธรรม์ให้เจ้าของใหม่
- หลักฐานการซื้อขายรถยนต์
ขั้นตอนการโอนประกันไม่ระบุชื่อ
- เจ้าของรถใหม่ดำเนินการยื่นเอกสารให้กับทางบริษัทประกันภัย เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกัน
- บริษัทประกันดำเนินการออกเอกสารเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันเป็นเจ้าของรถใหม่
ค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้สำหรับการโอนรถ
การโอนรถในแต่ละครั้ง จะมีค่าธรรมเนียมหรือค่าโอนรถ จะแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- ค่าคำขอโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมโอนรถ 100 บาท
- ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเสียหายชำรุด)
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีที่อยากเปลี่ยน)
- ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินรถยนต์ 100,000 บาท
ข้อควรระวังสำหรับการขอโอนรถ
การโอนรถ ไม่ว่าจะการโอนรถให้คนในครอบครัว หรือการซื้อขายรถยนต์ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน มีเรื่องของเอกสาร การเงินที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยข้อควรระวังการโอนรถมีดังนี้
1.ความเสี่ยงต่อกฎหมายการโอนรถ
การโอนรถ โดยเฉพาะหากซื้อรถมือสอง ควรระวังในกรณีที่มีการแอบโอนรถที่มีคดีความหรือเคยถูกนำไปใช้ทำผิดกฎหมายมาให้เจ้าของใหม่ ซึ่งอาจทำให้ผู้รับโอนรถต้องรับผิดแทน
2.ความเสี่ยงเรื่องภาษี
ภาษีเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับทุกคน และเกี่ยวข้องกับแทบทุกบริบทที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ทรัพย์สิน การโอนรถก็เช่นกัน เพราะหากเจ้าของเดิมทำการโอนรถ อาจต้องเสียภาษีเงินได้จากมูลค่ารถที่ทำการโอน
3.ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีโอนลอย ควรมีการตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดรอบคอบ เช่น การกรอกวันที่ และข้อมูลต่าง ๆ ว่าถูกต้องหรือไม่
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยของโอนรถ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยของการโอนรถ หรือดอกเบี้ยรถมือสองนั้น เรียกได้ว่ามีวิธีคำนวณไม่ต่างจากอัตตราดอกเบี้ยรถมือหนึ่ง เพียงแต่อัตราดอกเบี้ยรถยนต์ มือสองนั้นจะสูงกว่ารถมือหนึ่งพอสมควร โดยการคำนวณดอกเบี้ยโอนรถ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.ยอดจัดไฟแนนซ์ = ราคารถ - เงินดาวน์
2.ดอกเบี้ยรายปี = ยอดจัดไฟแนนซ์ x อัตราดอกเบี้ย
3.ดอกเบี้ยที่ต้องผ่อน = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรายปี x จำนวนปีที่ผ่อน
4.ยอดหนี้ที่ต้องจ่าย = ยอดจัดไฟแนนซ์ + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรายปี
5.ค่างวดในแต่ละเดือน = ยอดเงินที่ต้องจ่าย ÷ จำนวนเดือนที่ผ่อน
ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยโอนรถ กรณีที่ราคารถ 500,000 เงินดาวน์ 100,000 อัตราดอกเบี้ย 5% ระยะเวลาการผ่อน 3 ปี
1.500,000 - 100,000 = 400,000
2.400,000 x 5% = 20,000
3.20,000 x 3 = 60,000
4.400,000 + 60,000 = 460,000
5.460,000 ÷ 36 = 12,800 คือค่างวดแต่ละเดือนที่ต้องจ่าย
สรุป
จะเห็นได้ว่าการโอนรถนั้นเป็นอีกหนึ่งธุรกรรมที่คนมีรถไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ต้องการซื้อรถมือสอง เพราะการโอนกรรมสิทธิ์รถนั้น ควรตรวจสอบให้ดีว่ารถที่รับโอนนั้น ไม่ใช่รถติดไฟแนนซ์ หรือเป็นรถที่มีประวัติไม่ดี เพื่อว่าเมื่อได้กรรมสิทธิ์ครอบครองรถแล้ว จะสามารถขับขี่ได้อย่างอุ่นใจยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สำหรับใครที่กำลังวางแผนผ่อนรถยนต์มือสอง แล้วลังเลว่าจะผ่อนธนาคารไหนดี? ที่อัตราดอกเบี้ยไม่แพงเกินไป ขอแนะนำเว็บไซต์ Refinn ที่เป็นบริการช่วยเปรียบเทียบโปรโมชันรีไฟแนนซ์รถของแต่ละธนาคาร แบบง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง