8 เทคนิคในการวางแผนซื้อบ้านหลังแรก ฉบับมนุษย์เงินเดือน
เก็บเงินสร้างบ้าน

เทคนิคในการวางแผนซื้อบ้านหลังแรก มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน!

วางแผนซื้อบ้าน

เชื่อว่าการซื้อบ้านหลังแรก ย่อมต้องเป็นฝันของใครหลายคน หลายคนเลยทำงานเก็บเงินสร้างบ้าน หรือทำงานเก็บเงินซื้อที่อยู่อาศัย เพราะนอกจากจะให้เราได้ที่พักอาศัยแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต แต่การจะซื้อที่อยู่อาศัยสักหลังได้ควรวางแผนซื้อบ้านเพื่อให้เมื่อถึงตอนที่ต้องเริ่มผ่อนชำระบ้านสามารถดำเนินการผ่อนได้อย่างไม่ติดขัดเรื่องการเงินในอนาคต ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ 8 เทคนิคในวางแผนซื้อบ้าน ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร มีอะไรต้องรู้บ้างถ้าพร้อมแล้วไปติดตามอ่านได้เลยครับ

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะพอซื้อบ้าน?

จากข้อสงสัยที่ว่า เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะพอซื้อบ้าน คำตอบก็คืออย่างน้อยควรมีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป ถึงจะวางแผนซื้อบ้านได้ เพราะเนื่องจากราคาบ้านในปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ประมาณ 2 - 3 ล้านเป็นขั้นต่ำ ซึ่งราคาผ่อนต่องวดรวมดอกเบี้ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณล้านละ 6,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นหากวางแผนซื้อบ้านราคา 2 ล้านจะอยู่ที่เดือนละ 12,000 บาท ทั้งนี้เงินค่าผ่อนบ้านจะต้องไม่เกินกว่า 30 - 40% ของเงินเดือน ดังนั้นเงินเดือน 30000 ซื้อบ้าน จึงเป็นจำนวนที่เพียงพอและมีศักยภาพในการผ่อนซื้อที่อยู่อาศัยราคา 2 - 3 ล้านบาทนั่นเอง

8 เทคนิคในการวางแผนซื้อบ้าน เส้นทางสู่บ้านหลังแรก

วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากจะรู้แล้วว่าถ้าจะซื้อบ้านทาง Refinn มีเทคนิคแนะนำมั้ยจะได้เลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างคุ้มค่า ผมก็ต้องบอกว่ามีแน่นอนครับและนี้คือ 8 เทคนิคที่เราต้องรู้ก่อนเลือกบ้าน มาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

1. มองหาแบบบ้านที่ต้องการ

ก่อนจะเริ่มวางแผนซื้อบ้านนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าบ้านที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราควรเป็นบ้านแบบไหน เพื่อที่จะสามารถกำหนดราคา และงบประมาณการซื้อที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการพักอาศัยของเรามากที่สุด โดยการวางแผนซื้อบ้านหลังแรก ให้ได้แบบที่ต้องการมีดังนี้

1.1 เลือกจากเงื่อนไขชีวิต เนื่องจากเมื่อซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว มันจะเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับเราไประยะยาว หรืออาจตลอดชีวิต ดังนั้นการวางแผนซื้อบ้านควรพิจารณาจากเงื่อนไขต่าง ๆ ในชีวิตของเรา เช่น จำนวนสมาชิกภายในบ้าน รูปแบบการใช้ชีวิตของเราและครอบครัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เหล่านี้จะช่วยให้เราตัดสินใจวางแผนซื้อบ้านได้อย่างรอบคอบ และมองการณ์ไกลมากขึ้น

1.2 ทำเลที่ตั้งและขนาดของบ้าน ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย หรือที่อยู่อาศัย เพราะการวางแผนซื้อบ้านที่ดีควรสามารถรองรับสมาชิกทุกคนในครอบครัวและตอบโจทย์เงื่อนไขที่เราวางไว้ รวมถึงทำเลที่ตั้งต้องสะดวกต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน ไปเรียน หรือไปทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ยิ่งซื้อที่อยู่อาศัยทำเลดี และพื้นที่เยอะก็อาจมีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย

1.3 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ การซื้อที่อยู่อาศัยนอกจากค่าบ้านแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาในภายหลัง เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าตกแต่งบ้าน ค่าบำรุงซ่อมแซม เป็นต้น ยิ่งหากเป็นบ้านมือสองด้วยแล้วอาจต้องเตรียมค่าใช้จ่ายการบำรุงต่าง ๆ เป็นพิเศษ ดังนั้นก่อนวางแผนซื้อบ้านควรเตรียมเงินส่วนนี้เพื่อเตรียมพร้อมด้วย

2. สร้างเครดิตทางการเงินให้ดี

การวางแผนซื้อบ้านในปัจจุบันหลายคนมักเลือกใช้การขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อให้ได้วงเงินสำหรับซื้อที่อยู่อาศัยและสามารถมีเงินเหลือตกแต่ง บำรุงบ้านได้ แต่การขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านนั้น ทางธนาคารจะมีการพิจารณาคุณสมบัติการเงินย้อนหลังผ่าน เครดิตบูโร หากพบว่าผู้กู้มีประวัติการผิดชำระหนี้ หรือเคยขอปรับโครงสร้างหนี้ จะมีโอกาสไม่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อ ดังนั้นหากจะวางแผนซื้อบ้าน ก่อนที่จะเริ่มขอสินเชื่อบ้าน ควรรักษาประวัติการเงินให้ดี ด้วยการชำระเงินให้ตรงเวลาสม่ำเสมอ และไม่สร้างหนี้ก้อนที่ใหญ่เกินไปจนไม่สามารถผ่อนชำระได้

3. ตรวจสอบภาระหนี้สิน

นอกจากการสร้างประวัติทางการเงินที่ดีแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ควรเตรียมความพร้อมในการวางแผนซื้อบ้านคือการเช็กภาระหนี้สินของตนเอง ว่ามีภาระหนี้อื่น ๆ เช่น หนี้รถยนต์ หรือหนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ต้องรีบปิดก่อนซื้อที่อยู่อาศัยหรือไม่ เพราะหากทางธนาคารดำเนินการพิจารณาแล้วพบว่าคุณมีหนี้สินค้างชำระมากกว่า 40% ของรายได้ ก็อาจทำให้ไม่ผ่านการพิจารณาได้ ดังนั้นควรรีบปิดชำระหนี้ก้อนใหญ่ให้หมดก่อนที่จะขอสินเชื่อจะเป็นการดีที่สุด

4. วางแผนการเงินให้เหมาะสม

เพราะหนี้จากการซื้อที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มตัดสินใจวางแผนซื้อบ้านควรมีการวางแผนการเงินให้เป็นอย่างดี โดยอาจลิสต์เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และแบ่งวางแผนเก็บเงินซื้อบ้านไว้สำหรับเป็นค่าดาวน์บ้าน นอกจากนี้อาจลองแบ่งเงินก้อนเป็นจำนวนค่าผ่อนบ้านแต่ละเดือนเพื่อฝึกซ้อมการผ่อนบ้านไปในตัว ว่าเมื่อถึงเวลาผ่อนจริงแล้วจะสามารถบริหารเงินแต่ละเดือนได้คล่องตัวหรือไม่

5. เก็บออมเงินดาวน์บ้าน

เก็บเงินสร้างบ้าน

หลังจากที่วางแผนซื้อบ้าน ด้วยการวางแผนการเงินเพื่อเตรียมผ่อนบ้านแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมต่อมาคือเงินออมสำหรับดาวน์บ้านเพื่อช่วยลดภาระการผ่อนบ้านให้เหลือยอดเงินต้นน้อยลงยิ่งขึ้น และทำให้อัตราดอกเบี้ยถูกลงตามไปด้วย โดยการวางแผนที่ดีผู้กู้ควรเก็บเงินซื้อบ้านสำหรับดาวน์บ้านอย่างน้อย 10 - 20% ของราคาบ้าน เช่น หากต้องการซื้อที่อยู่อาศัยราคา 2 ล้านบาท ควรมีเงินสำหรับดาวน์บ้านประมาณ 200,000 บาท เป็นต้น

6. ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

การจะเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านนั้น จะไม่สามารถเกิดประสิทธิภาพเลยหากเราไม่ทำการลดค่าใช้จ่ายบางอย่าง ซึ่งการวางแผนซื้อบ้านนั้นเราควรพิจารณาดูว่าในแต่ละเดือนนั้น เราได้มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างโดยอาจไล่เรียงจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมากไปหาจำเป็นน้อยสุด แล้วลองดูว่าสามารถตัดค่าใช้จ่ายบางอย่างออกได้หรือไม่ เช่น ค่าสมาชิกสตรีมที่เราไม่ค่อยได้ใช้งาน เป็นต้น เมื่อเราลดภาระค่าใช้จ่ายบางอย่างลงได้ก็จะช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บไปผ่อนซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้น

7. เปรียบเทียบสินเชื่อของแต่ละธนาคาร

เนื่องจากการขอสินเชื่อกันธนาคาร ซึ่งธนาคารแต่ละเจ้าแต่ละแห่งก็มีโปรโมชันดึงดูดคนที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นวงเงินอนุมัติ อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาการผ่อน เป็นต้น โดยการวางแผนซื้อบ้านจะต้องเปรียบเทียบโปรโมชันอย่างน้อย 3 ธนาคาร เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและเหมาะสมกับกำลังการผ่อนของเรา นอกจากนี้ผู้กู้ควรศึกษาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยคงที่และลอยตัว เพื่อเข้าใจภาพรวมและวางแผนการผ่อนระยะยาวได้

8. ศึกษาเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้าน

การผ่อนบ้านกับธนาคารนั้น เมื่อผ่อนไปได้ระยะหนึ่งจนเข้าสู่ปีที่ 4 ธนาคารส่วนใหญ่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ทางเลือกของคนที่อยากวางแผนซื้อบ้าน ด้วยการผ่อนชำระบ้านด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แพงมาก คือการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านจะเป็นการที่ผู้กู้ขอสินสินเชื่อบ้านธนาคารใหม่เพื่อโปะบ้านกับธนาคารเดิม ทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง รวมถึงได้โปรโมชันข้อเสนอจากธนาคารใหม่ให้สามารถผ่อนบ้านราคาถูก

สรุป

การเตรียมความพร้อมเพื่อซื้อบ้านให้ดี ก็อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ไม่ผ่านการอนุมัติ หรือเกิดปัญหาการเงินระหว่างที่ผ่อนบ้านในภายหลัง ดังนั้นยิ่งเตรียมตัวที่ดี ก็ยิ่งช่วยให้มีชัยไปกว่าครึ่ง ก็ทพตามที่ผมแนะนำในบทความได้เลย

ส่วนใครที่อยากหาตัวช่วยว่าจะเลือกขอสินเชื่อบ้าน ที่ไหนดี ขอแนะนำเว็บไซต์ Refinn ผู้ช่วยในการวางแผน โดยจะเปรียบเทียบโปรโมชันสินเชื่อบ้านแต่ละธนาคาร ให้ตรงใจคุณที่สุด นอกจากนี้ยังมีบริการเปรียบเทียบบริการอื่น ๆ เช่น กู้เงินด่วน  สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงสินเชื่อบ้านแลกเงิน และอื่น ๆ อีกมากมาย

เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม