ดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร
ถ้าเราตัดสินใจกู้เงินซื้อบ้าน หรือคอนโด หรือแม้แต่การกู้เงินกับธนาคารทำ สินเชื่อส่วนบุคคล ทุกคนคงจะเคยได้ยิน อัตราดอกเบี้ยลอยตัว บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นวลีเด็ด ที่ได้ยินจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินอธิบายรายละเอียดการกู้เงินให้ทุกคนได้เข้าใจ
เป็นคำที่คุ้นหูได้ยินกันบ่อย สำหรับคนที่มีสินเชื่อกับธนาคาร ต้องให้ความสำคัญกับปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนที่ต้องชำระต่องวดได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น ซึ่งหมายถึง จำนวนเงินที่ชำระต่องวดจะเพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ขอสินเชื่อต้องคำนึงถึงความเสี่ยง และความสามารถในการชำระเงินที่เพิ่มขึ้น หากทุกคนศึกษาข้อมูล หาความรู้เกี่ยวกับดอกเบี้ยลอยตัวแล้วก็จะรู้ว่า ดอกเบี้ยลอยตัว คือ คือดอกเบี้ยที่ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น - ลงได้ ตามกำหนดของธนาคาร โดยยึดตามประกาศยอดอัตราดอกเบี้ยรายเดือนเป็นรอบๆ เมื่อทุกคนศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ก็ไม่ได้น่ากังวลอย่างที่หลายๆ คนคิด
ดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร
อัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ดอกเบี้ยอ้างอิงของสถาบันการเงินของแต่ละธนาคาร ณ ช่วงเวลานั้น โดยคิดคำนวณจากต้นทุนของธนาคารต่างๆ เช่นนโยบายการบริหาร, ทรัพย์สิน, หนี้สิน, สภาพคล่องของธนาคาร, อัตราเงินเฟ้อ, เศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งการคิดดอกเบี้ยลอยตัวจากเงินต้นคงเหลือที่แท้จริง โดยการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ระบุจำนวนเงินดอกเบี้ยเจาะจง ว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ไปตลอดอายุสัญญา
เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร มีการคำนวณอย่างไร มากยิ่งขึ้น จะอธิบายเป็นชุดตัวเลข เพื่อการอธิบายที่จะสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนได้รู้จักดอกเบี้ยลอยตัวชัดเจนมากยิ่งขึ้น สมมุติว่า นาย A กำลังผ่อนบ้านกับทางธนาคาร
ธนาคารกำหนดอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 เท่ากับ MRR – 3.00% ดอกเบี้ยปีต่อไป เท่ากับ MRR – 1.50%
ถ้า MRR ของธนาคารแห่งนั้น = 5.00% หมายความว่าดอกเบี้ยในปีที่ 1 ที่เราต้องจ่ายเท่ากับ 5.00 – 3.00 = 2.00% และปีอื่นๆ เท่ากับ 5.00 – 1.50 = 3.50% หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเรท MRR นั่นเอง
ดอกเบี้ยลอยตัว กับ ดอกเบี้ยคงที่ ต่างกันอย่างไร
หากใครกำลังวางแผนและตัดสินใจที่จะกู้ยืมเงินซื้อบ้าน หรือทำธุรกิจต่างๆ ต้องศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้าน เพื่อการตัดสินใจอย่างรอบคอบและป้องกันความเสี่ยงให้มากที่สุด โดยข้อมูลพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องทำความรู้จักให้ดีๆ คือ ลักษณะการการคิดดอกเบี้ยของสินเชื่อต่างๆ หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่เราไปขอกู้ธนาคาร โดยปกติแล้วธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง จะมีวิธีคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
ประเภทที่ 1 คิดแบบคงที่ หรือที่เรียกว่า Fixed Rate
ประเภทที่ 2 คือ ดอกเบี้ยลอยตัว หรือที่เรียกว่า Floating Rate
ดังนั้น เรามาทำความรู้จักดอกเบี้ยเงินกู้ทั้ง 2 ประเภทนี้ แตกต่างกันอย่างไร ให้ดียิ่งขึ้นกันดีกว่า
- ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่
- การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่คงตัวในระยะยาวหรือแค่ช่วงระยะเวลาช่วงต้นโดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาทำสินเชื่อกับธนาคาร และไม่มีสิทธิคิดอัตราดอกเบี้ยมากกว่านี้
- อัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นข้อมูลดัชนี ที่สร้างโอกาสให้ผู้ชำระค่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อต่างๆ ให้ถูกจ่ายในเรทราคาที่สม่ำเสมอ
- ทำให้ลูกค้าสามารถคาดการณ์และกำหนดดอกเบี้ยแบบตายตัวได้เลย
- อัตราดอกเบี้ยคงที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ
1. อัตราดอกเบี้ยคงที่
2. ตลอดอายุอัตราดอกเบี้ยคงที่ช่วงต้น
3. อัตราดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันไดช่วงต้น
ยกตัวอย่าง เช่น หากเรากู้เงินจาก สินเชื่อเงินด่วน จำนวน 1 ล้านบาท และธนาคารกำหนดให้เราชำระดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งก็แปลว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยคงที่นี้เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาทในทุก ๆ ปี ไม่ว่าเราจะจ่ายเงินต้นไปขนาดไหน แต่ว่าดอกเบี้ยก็ยังจะคงที่เท่าเดิมนั่นเอง
- ประเภทอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว
- ไม่ได้ระบุจำนวนเงินดอกเบี้ยเจาะจงว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ไปตลอดอายุสัญญา การคิดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่คงตัว ขึ้นอยู่กับการกำหนดของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา ตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งการปรับใหม่นี้ จะปรับเมื่อใดนั้น ไม่สามารถจะทราบได้ ในบางปี อาจมีการปรับหลายครั้ง บางปีไม่มีการปรับเปลี่ยนเลยก็ได้ ส่วนมากทางธนาคารจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยว่า Mrr - xx%
- ดอกเบี้ยลอยตัว เป็นข้อมูลดัชนีที่สร้างโอกาสความเสี่ยงให้กับผู้ชำระค่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อต่างๆ ให้ถูกจ่ายในเรทราคาที่สูงกว่าปกติ การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบต่อเงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนได้
ข้อดีของดอกเบี้ยลอยตัว
ดอกเบี้ยลอยตัว ในความหมายของคนทั่วไปที่รู้จักกันดีคือดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเป็นดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนเงินต้นที่ลูกหนี้ได้ชำระในแต่ละงวดด้วยดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อยๆตามเงินต้นที่ลดลงเนื่องจากถูกหักออกไปจากการชำระหนี้งวดก่อนหน้า ซึ่งข้อดี ดอกเบี้ยลอยตัว มีดังต่อไปนี้
- เหมาะสำหรับผู้ที่คิดว่า จะหารายได้ มีเงินเป็นก้อน และมีกำลังมากพอที่จะนำเงินมาปิดยอดได้ไว
- อัตราดอกเบี้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนงวดในการชำระแต่ละครั้ง โดยดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อยๆ ตามเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด
ข้อดีของดอกเบี้ยคงที่
ดอกเบี้ยแบบคงที่ เป็นอัตราดอกเบี้ย ที่คิดง่ายโดยธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ตายตัวตลอดอายุสัญญาโดยคำนวณจากเงินต้นที่ขอสินเชื่อและนำมาหารกับจำนวนงวดที่ต้องการจ่าย ก็จะได้เรทอัตราการคิดดอกเบี้ยที่เท่ากันในแต่ละครั้งของการชำระหนี้ ซึ่งข้อดี ดอกเบี้ยแบบคงที่ มีดังต่อไปนี้
- การชำระเงินในแต่ละงวดเป็นยอดเงินที่เท่ากัน ทำให้เกิดการบริหารและวางแผนการเงินในชีวิตประจำวันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงของความไม่มั่นคงได้เป็นอย่างดี
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำทุกเดือน จ่ายไปเรื่อยๆ ไม่รีบปิดยอด ไม่ทำให้เป็นภาระการชำระหนี้มากจนเกินไป เกิดสภาพคล่องทางการเงินในการใช้จ่ายเงินประจำวันสะดวกมากขึ้น
เลือกดอกเบี้ยลอยตัวดีไหม พิจารณาจากอะไรบ้าง
หนึ่งในข้อสงสัยหลายๆ คนที่ยังไม่แน่ใจว่า ควรตัดสินจะเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบไหนดี วันนี้ผมจะพาทุกคนไปพบกับข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจเลือกประเภทดอกเบี้ยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ดังนี้
กรณีที่ 1 ถ้าเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นดูซบเซา เศรษฐกิจไม่ดีทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับอัตราดอกเบี้ยบ้านลดลงเราจึงควรเลือก อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
กรณีที่ 2 ถ้าเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นมีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้น หรือเรียกว่าเศรษฐกิจขาขึ้นจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านจะปรับสูงขึ้น เพราะเศรษฐกิจคล่องตัวจึงควรเลือก อัตราดอกเบี้ยคงที่
การติดตามข้อมูลข่าวสารภาวะเศรษฐกิจต่างๆ จะทำให้รู้เท่าทันทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้เราสามารถปรับตัวไปตามเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงได้ทัน และรับมือกับทุกสถานการณ์ได้โดยสามารถบริหารความเสี่งได้เป็นอย่างดี โดยข้อสังเกตที่จะเป็นสัญญาณการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น
- อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
- ความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก
- ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อทุกคนเริ่มเห็นสัญญาณ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น และข้อมูลในส่วนอื่นๆประกอบกันตามข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจโลกและในประเทศ ทุคนเริ่มคาดการณ์อนาคตได้เลยว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น แน่นอน
โดยดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลกระทบกับคนที่มีภาระเงินกู้ต่างๆ ทั้งบัตรเครดิตสินเชื่อเงินสดที่อัตราดอกเบี้ยจะสูง ขึ้นในส่วนคนที่ผ่อนจ่ายสินเชื่อบ้าน แม้เงินที่จ่ายในแต่ละงวดจะเท่าเดิมแต่จำนวนเงินต้นที่จ่ายไป จะไปตัดจ่ายในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น หักส่วนที่เป็นเงินต้นน้อยลง
ฉะนั้นทุกคนก็ควรที่จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เรื่อยๆ เพื่ออัพเดทสถานการณ์ของเศรษฐกิจและการดูแนวโน้มทิศทางของดอกเบี้ยขาขึ้นจะทำให้รับมือกับสถานการณ์ได้ทัน
การปรับอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อดอกเบี้ยลอยตัวอย่างไร
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว สามารถที่จะปรับขึ้น-ลงได้ ตามอัตราดอกเบี้ยที่แต่ละธนาคารพาณิชย์ประกาศใช้ในห้วงเวลานั้นๆ โดยการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยนั้น จะเริ่มจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก่อน และหลังจากนั้นสถาบันการเงินต่าง ๆ จะพิจารณาการปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวของตัวเองขึ้น โดยผู้กู้จำเป็นจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารได้ จากสถานบันการเงินที่เราใช้บริการอยู่ ซึ่งถ้าหากดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น เราอาจจะต้องเตรียมวางแผนการชำระหนี้ของเราให้ดี เพราะจะกระทบกับเราแน่นอน โดยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่สถาบันการเงินจะมีการประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินสินเชื่อจากลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่มี 3 ตัวด้วยกัน ดังนี้
- อัตราดอกเบี้ย MLR คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดีมีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อธุรกิจ
- อัตราดอกเบี้ย MOR คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
- อัตราดอกเบี้ยMRR คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยที่จะใช้กันมากที่สุด
รีไฟแนนซ์บ้านสำคัญกับดอกเบี้ยลอยตัวไหม
การผ่อนชำระหนี้บ้านของคนส่วนใหญ่เมื่อเดินทางเข้าสู่ปีที่ 3 หลายคนเริ่มคิดถึงเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านเพราะการคิดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ในช่วง 3 ปีแรกจะมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ถูก แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ปีที่ 4 จะมีอัตราดอกเบี้ยบ้านปรับขึ้น ตามการกำหนดของธนาคาร จึงทำให้หลายคนเริ่มสนใจที่จะรีไฟแนนซ์ เพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยบ้านให้ถูกลง
- ตัวอย่างเช่น ธนาคารบอกตัวเลขอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ธนาคารจะบอกข้อมูลสินเชื่อว่ามีอัตราดอกเบี้ยคงที่แค่ 3 ปี ในอัตรา 4% หมายความว่า 3 ปีแรก หรือ 36 งวด ของการได้รับเงินกู้จากธนาคาร เราจะเสียดอกเบี้ยเพียงแค่ 4% เท่านั้น ตามที่ธนาคารกำหนด แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยของเราจะกลายเป็น MRR - 2 เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว และเราต้องไปดูว่า MRR ในช่วงนั้นของธนาคารที่เราไปขอสินเชื่อมันเท่าไหร่ ซึ่งธนาคารจะมีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับลูกค้า สมมุติว่าในช่วงนั้น MRR = 7 เราก็เอา 7 มาลบ 2 ตามที่ธนาคารแจ้ง ดังนั้นแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่เราจะต้องจ่ายตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป คือ 5% ต่อปี เท่านั้นเอง
จากข้อมูล จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มมีการปรับขึ้นในอายุสัญญาเข้าสู่ปีที่ 4 ทำให้หลายคนเลือกที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน มาดูข้อมูลกันว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคุ้มค่าอย่างไร สมมติว่า ปัจจุบันเหลือภาระหนี้ 2,000,000 บาท ถ้วน หลังจากผ่อนมาแล้ว 3 ปี (ระยะเวลาผ่อนที่เหลือ 27 ปี) โดยอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 7% ต้องชำระสินเชื่อบ้าน 15,100 บาท ต่อเดือน กรณีขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ สมมติว่าได้อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกเฉลี่ย 3% จะมีภาระผ่อนชำระหนี้ในช่วง 3 ปีนั้น 10,200 บาท ต่อเดือน (ลดลง 4,900 บาท) การรีไฟแนนซ์ประหยัดเงินได้ถึง 176,400 บาท [(15,100 x 36) – (10,200 x 36)] ซึ่งจะเห็นได้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านมากยิ่งขึ้นและนอกจากนี้ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านยังมีอีกมากมายเช่น
- ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง
- ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้
- ยืดระยะเวลาในการผ่อนได้
รีไฟแนนซ์บ้าน เป็นการทำสัญญาสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคารหนึ่ง โดยผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะมีอิสระในการเลือกธนาคารได้เองตามความประสงค์ที่ธนาคารต่างๆ จะเสนอโปรโมชั่นที่น่าสนใจได้มากกว่ากัน ซึ่งระยะเวลาเริ่มแรกในการรีไฟแนนซ์บ้าน ก็ต่อเมื่อมีการผ่อนบ้านไปแล้ว 3 ปีขึ้นไป หรือตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญากู้บ้าน ดังนั้นการรีไฟแนนซ์ จึงเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจสำหรับลูกหนี้ ทุกๆ คน เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวช่วยหัวใจสำคัญของการลดดอกเบี้ยบ้านและภาระในการผ่อนบ้านได้
สรุปสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับดอกเบี้ยลอยตัว
เมื่อทุกคนได้ศึกษาการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร และทำความเข้าใจจะทำให้การตัดสินใจเลือกอัตราดอกเบี้ยง่ายขึ้น โดยมีตัวเลือกระหว่างอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ กับ ดอกเบี้ยลอยตัว ทั้ง 2 รูปแบบ จะเลือกแบบไหน ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของแต่ละช่วง และเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละคนก็จะมีการบริหารการเงิน การมีรายได้ที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเลือกแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ จะเป็นดอกเบี้ยที่เรากับธนาคารกำหนดไว้ในสัญญาเลยว่าดอกเบี้ยจะเท่ากันตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นยังไง ทำให้เราสามารถบริหารความเสี่ยงได้
แต่ส่วน ดอกเบี้ยลอยตัว จะอ้างอิงตามค่า MRR โดยธนาคารจะแจ้งข้อมูลให้กับลูกค้า ซึ่งหมายความว่า ถ้าเกิดว่าช่วงเวลาไหนที่ธนาคารนั้นมีการปรับค่า MRR ขึ้น การจ่ายดอกเบี้ยในช่วงปีนั้นก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย เคล็ดลับสุดท้ายที่อยากจะฝากทุกคน คือ ถ้าช่วงไหนที่เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น แนะนำว่าให้เลือกดอกเบี้ยแบบคงที่จะดีกว่า แต่ถ้าหากเราเลือกไม่ได้จริงๆ
สำหรับสินเชื่อที่มีการคิดอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัว ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะลดหนี้ได้ เพียงแค่มีวินัยทางการเงิน จ่ายเงินให้มากกว่าอัตราการชำหนี้ขั้นต่ำในทุกๆ งวด ยิ่งโปะบ้าน มากเท่าไหร่ หนี้บ้านยิ่งหมดไวมากเท่านั้น