วิธีวางแผนการเงินฉบับมือใหม่ เปลี่ยนนิสัยให้มีเงินใช้ในระยะยาว
รู้จักวิธีวางแผนการเงิน เปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายเพื่อความมั่นคงในอนาคต

รู้จักวิธีวางแผนการเงิน เปลี่ยนนิสัยการใช้จ่ายเพื่อความมั่นคงในอนาคต

รู้จักวิธีวางแผนการเงิน

สำหรับเพื่อน ๆ First Jobber ที่ทำงานมาได้สักระยะหนึ่ง หรือคนที่ทำงานมาได้นานแล้วอาจเป็นช่วงแรกที่ได้ปลดปล่อยจากการใช้เงินอย่างเต็มที่ เลือกซื้อในสิ่งที่ต้องการ เลือกไปในสถานที่ที่อยากไป แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่หลายคนรอคอยกับการใช้เงินจากแรงกายแรงใจที่ได้มา แต่ต้องไม่ลืมที่จะวางแผนการเงินไว้แต่เนิ่น ๆ เพราะการวางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตเราได้

เนื่องจากการวางแผนทางการเงินช่วยให้เราได้ฝึกนิสัยการออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายตามกำลังที่มีได้เป็นอย่างดี ซึ่งในบทความนี้ผมได้รวบรวมขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน พร้อมยกตัวอย่างการวางแผนการเงิน เพื่อให้เพื่อน ๆ นำหลักการวางแผนทางการเงินไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนในการวางแผนการเงิน

ขั้นตอนในการวางแผนการเงิน

เริ่มต้นด้วยขั้นตอนการวางแผนการเงินกันก่อนเลยครับ เพราะการวางแผนการเงินคือสิ่งที่สำคัญแต่ถ้าหากไม่มีขั้นตอนเป็นแบบแผนก็ไม่สามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขั้นตอนการวางแผนการเงินประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ตรวจสอบสถานะทางการเงินของตัวเอง

ก่อนเริ่มต้นวางแผนการเงิน ต้องย้อนกลับมาตรวจสอบสถานะทางการเงินของเราก่อนครับว่าเป็นอย่างไร มีรายรับเท่าไหร่ มีหนี้สินหรือไม่ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายอะไรต่อเดือนบ้าง ซึ่งเราควรสรุปออกมาในรูปแบบรายรับ - รายจ่าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเห็นว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรที่สำคัญบ้าง แล้วสถานะทางการเงินโดยรวมของเราดีมากแค่ไหน

2. ตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาให้ชัดเจน

เมื่อเรารู้ถึงสถานะทางการเงินของตัวเองแล้ว เราต้องมีการตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาให้ชัดเจน กับวางแผนการเงินที่แบ่งเงินบางส่วนเพื่อการออมอย่างมีเป้าหมาย เช่น วางแผนไปเที่ยว วางแผนเกษียณ วางแผนซื้อของใช้ที่จำเป็น เป็นต้น ซึ่งควรวางแผนทางการเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายในช่วงเวลานั้น ๆ เพื่อให้แต่ละเป้าหมายสามารถทำสำเร็จได้ตามคาดหวัง

3. จัดทำแผนการบริหารเงินที่เหมาะสม

หากได้รู้ภาพรวมของทรัพย์สินที่มี และภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เราควรวางแผนการเงินให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งต้องมีการจัดสรรวิธีวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับเวลาและจำนวนเงิน เช่น การจัดการเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อหารายได้เสริม การนำเงินเย็นที่มีไปซื้อกองทุน ลงทุนหุ้น หรือเปิดบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงเพื่อปันผลกำไรเพิ่มเติม เป็นต้นครับ

4. ดำเนินการตามแผนการเงินอย่างมีวินัย

ถ้าวางแผนการใช้เงินอย่างลงตัวแล้ว ก็ควรสร้างวินัยการใช้เงินอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่เราวางเอาไว้ได้ตามต้องการ ซึ่งหากขาดวินัยทางการเงิน มีการเริ่มต้นวางแผนการเงินแล้วแต่ยังคงใช้เงินแบบเดิม ไม่มีการปรับให้ดีขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ยากต่อการนำพาตัวเองไปสู่เป้าหมายตามแผนที่วางเอาไว้

5. ปรับแผนการเงินให้เหมาะกับสถานการณ์อยู่เสมอ

ขั้นตอนวางแผนการใช้เงินสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน บางคนอาจมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่เพิ่มเข้ามา หรือบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการสร้างรายได้ ซึ่งควรมีการปรับเปลี่ยนแผนให้ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม เพื่อให้เรายังคงเส้นทางการทำตามเป้าหมายจากวางแผนการเงินได้เป็นอย่างดี

หลักการวางแผนทางการเงินตามหลัก SMART

หลักการสำหรับวางแผนการเงินมือใหม่ ที่ต้องการความสำเร็จที่แน่นอน มีความชัดเจน และสามารถทำตามเป้าหมายในระยะที่เราวางแผนการเงินไว้ได้ ต้องทำตามหลักการ S - M - A - R - T Goals ซึ่งจะถูกแบ่งแยกย่อยออกไปเป็น 5 อย่าง ได้แก่

  • Specific การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ตัวเองว่าเราทำเพื่ออะไร มีการกำหนดไว้อย่างแน่วแน่
  • Measurable การวัดผลจากจำนวนตัวเลขที่ได้ ว่าเราเดินทางมาถึงตรงไหน ใกล้ถึงเป้าหมายหรือยัง
  • Achievable การทำตามเป้าหมายให้สำเร็จได้จริง ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
  • Realistic ต้องมีการวางแผนที่ทำได้จริง มีความสมเหตุผลกับสถานการณ์การเงินในปัจจุบัน 

Time Bound มีการตีกรอบเวลาชัดเจน เพื่อให้เราโฟกัสกับเป้าหมายและทำให้เป็นจริง

ตัวอย่างการวางแผนการเงินส่วนบุคคลฉบับมือใหม่

หลักการวางแผนทางการเงินตามหลัก SMART

เพื่อให้เพื่อน ๆ เห็นภาพรวมการวางแผนการเงินมากขึ้น ผมได้มีการเพิ่มเติมตัวอย่างการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ซึ่งทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับวางแผนการเงินของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะประกอบไปด้วย 7 วิธีด้วยกันครับ ได้แก่

1. ฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่าย

เริ่มต้นวางแผนการเงินง่าย ๆ ด้วยการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ได้มีการแบ่งสัดส่วนการใช้เงินอย่างไร และที่สำคัญต้องมีการทำบัญชีอย่างละเอียดและรอบคอบ ในส่วนค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็น หรือบางสิ่งที่สามารถลดปริมาณลงได้ก็ลงปรับปรุงใหม่ เพื่อพาให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

2. แบ่งเงินเก็บเป็นสัดส่วน

หากใครที่ยังไม่สามารถหาวิธีการแบ่งเงินเป็นสัดส่วนได้ ลองใช้ทฤษฏีการแบ่งสัดส่วน 60 - 30 - 10 ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายคนเลือกใช้ และแน่นอนว่ามีประสิทธิภาพต่อวางแผนการเงินมาก ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • 60 (ค่าใช้จ่ายจำเป็น) เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าโทรศัพท์ และภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 
  • 30 (ค่าใช้จ่ายรายวัน) เช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน เป็นต้น
  • 10 (การเก็บออม) เป็นการแบ่งเงินเพื่อการออมโดยเฉพาะ

3. มีวินัยในการเก็บออมเงิน

หากเราวางแผนการเงินได้เป็นอย่างดี แต่เราไม่มีวินัยในการทำตามแผนที่วางไว้ ก็เท่ากับว่าเรามีการวางแผนอย่างศูนย์เปล่า ฉะนั้นควรสร้างวินัยที่ดีให้กับตัวเองในการออมเงิน เพื่อการบรรลุไปถึงเป้าหมายในสิ่งที่ต้องการ เช่น เก็บเงินไปเที่ยว เก็บเงินไปดูคอนเสิร์ต หรือเก็บเงินระยะยาวเพื่อวางแผนเกษียณ เป็นต้น

4. เตรียมเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

นอกจากการเก็บออมเพื่อทำในสิ่งที่ชอบ อย่าลืมเก็บออมเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง การเก็บเงินออมสำรองฉุกเฉินถือเป็นสิ่งที่สำคัญ และมีความจำเป็นต่อวางแผนการเงินนั่นเองครับ

5. บริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ

หากเพื่อน ๆ ที่มีภาระหนี้และต้องการจัดการอย่างเป็นระบบ ควรเริ่มต้นด้วยการจัดลำดับความสำคัญว่าหนี้ก้อนไหนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า มีกำหนดจ่ายเร็วกว่า เมื่อจัดสรรได้แล้วก็สามารถชำระหนี้ได้ตามลำดับ เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงไปมากกว่าเดิม อีกทั้งยังช่วยให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นอีกด้วย

6. ศึกษาเรื่องการลงทุนต่อยอด

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันการลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญ จากปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่อัตราฐานเงินเดือนภาพรวมไม่เพิ่มตาม ทำให้การลงทุนเพื่อปันผลกำไรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องใช้เวลาศึกษาเป็นอย่างดี เพราะการลงทุนทุกรูปแบบถือว่ามีความเสี่ยงที่ต่างกันออกไป

7. เริ่มวางแผนการเงินหลังเกษียณ

การวางแผนเกษียณควรเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะว่าเป็นขั้นตอนวางแผนการเงินที่ต้องใช้เวลานาน หากต้องการเกษียณอายุจากการทำงานที่เร็ว ก็ต้องมีการเริ่มต้นวางแผนที่เร็วเช่นกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเงินหลังเกษียณในทุก ๆ ปี

คำแนะนำในการการวางแผนทางการเงิน

วางแผนการเงินได้เป็นอย่างดีแล้ว ต้องอย่าลืมความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นควรใส่ใจกับองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติมในชีวิตที่ส่งผลดีกับเราได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น

  • ตรวจสอบความครอบคลุมของสวัสดิการและประกันสุขภาพ ซึ่งหากเป็นสวัสดิการที่ไม่ครอบคลุมการดูแลที่มากพอ การซื้อประกันสุขภาพอาจเป็นอีกทางเลือกที่ดีกว่า
  • ควรใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลอย่างมีวินัย เพราะเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดหนี้ได้ง่าย ๆ ฉะนั้นควรมีการใช้อย่างระมัดระวัง และใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น
  • เลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ ฯลฯ 
  • การมองหาช่องทางสร้างรายได้เสริมจากการลงทุน ที่นำไปสู่รายได้ที่งอกเงย

สรุป

เราสามารถเลือกวางแผนการเงินได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับภาระทางการเงินของแต่ละคน อีกทั้งต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อการนำมาวางแผนแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งหากใครที่ยังวางแผนการเงินได้ไม่ลงตัวและต้องการผู้ช่วย Refinn พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำฟรี เพราะเราอยากให้ทุกคนได้มีแนวทางบริการการเงิน และสร้างความคล่องทางการเงินให้กับตัวเองได้เป็นอย่างดี ทุกปัญหาทางการเงิน Refinn พร้อมช่วยเหลือทุกสถานการณ์ครับ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 03 มี.ค. 2568
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม