กู้ซื้อบ้านต้องเลือกธนาคารให้ดี ไม่ใช่แค่เลือกบ้าน
ในช่วงเดือนที่ผ่านมาได้มีคนพึ่งซื้อบ้านทั้งมือหนึ่ง และบ้านมือสอง ทักเข้ามาปรึษากับทาง Refinn ประมาณ 2 เคส (เฉพาะในเดือนนี้) กับเรื่องของการกู้ซื้อบ้านและได้รับดอกเบี้ยที่สูง ย้ำนะครับว่าไม่ใช่เรื่องการรีไฟแนนซ์บ้าน แต่เป็นการซื้อบ้านใหม่เลยครับ โดยคนเคสแรกที่ทักเข้ามาคือพึ่งเซ็นสัญญายังไม่ทันได้ผ่อนงวดแรกเลย ก็ทักมาปรึกษาเรื่องจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่นเลยครับ
ถามว่าเขาได้ดอกเบี้ยกันเท่าไรหรอ ถึงบอกว่าสูงแล้วจะยอมเสียค่าปรับและทำเรื่องย้ายไปธนาคารอื่น คำตอบคือ ได้รับดอกเบี้ยประมาณ 6.47% ครับ เหมือนจะไม่เยอะใช่ไหมครับ ผมจะลองคิดให้ดู
ยอดหนี้บ้านที่กู้คือ 3.6 ล้านบาท ดอกเบี้ยที่ได้ 6.47% ต่อปี เรามาคำนวณดอกเบี้ย 1 เดือนที่ต้องจ่ายกันครับ
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 1 เดือน = (3,600,000 x 6.47% x 30วัน) ÷ 365
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 1 เดือน = 19,144 บาท
ที่นี้เรามาดูดอกเบี้ยที่มีแต่ละธนาคารทำการสื่อ ซึ่งเฉลี่ยแล้วประมาณ 2.70% ต่อปี
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 1 เดือน = (3,600,000 x 2.70% x 30วัน) ÷ 365
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย 1 เดือน = 7,989 บาท
ลองสังเกตุที่ส่งต่างของดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายซิครับ ต่างกันถึง 11,154 บาท เลยครับ เงินส่วนต่างตรงนี้เรียกได้ว่าผ่อนรถได้คันหนึ่ง หรืออาจจะผ่อนบ้านได้อีกหลังเลยครับ หรือนั้นก็คือเงินที่เราสามารถประหยัดได้ต่อเดือนครับ
ทำไมถึงได้ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านถึงสูง
อันนี้ผมก็ไม่มั่นใจเหมือนกันเพราะฟังเรื่องมาจากคนที่มารับคำปรึกษาด้านเดียวเลยยังไม่กล้าฟันธงใด ๆ แต่จากที่สอบถามคือตัดสินใจเลือกยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารที่รับเงินเดือน เนื่องจากได้ยินว่าจะทำให้ขอสินเชื่อง่าย และยื่นที่เดียว พอผ่านก็ทำการเลือกธนาคารดังกล่าวเลย แล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ไม่ได้แจ้งดอกเบี้ยให้ทราบก่อน ไปทราบวันที่ทำสัญญากู้ จดจำนองเลย วันที่ไปเห็นดอกเบี้ยก็แอบคิดว่าสูงไหม แต่ก็มาถึงขั้นนี้แล้วเลยตกลงเซ็นสัญญาไป หลังจากทำทุกอย่างเสร็จแล้วก็ยังเก็บความสงสัยไว้อยู่แล้วมาหาข้อมูลต่อจึงรู้ว่าตัวเองได้ดอกเบี้ยที่สูงมาก ผมขยายความเรื่องดอกเบี้ยที่ได้สูงให้ประมาณนี้ครับ
- ธนาคารที่กู้ ด้วยความที่แต่ละธนาคารก็มีการโฟกัสธุรกิจที่ต่างกันครับ บางที่โฟกัสที่บัตรเครดิต บางที่โฟกัสที่สินเชื่อธุรกิจ บางที่โฟกัสที่สินเชื่อที่อยู่อาศัย เลยทำให้โปรโมชั่นมีความแตกต่างกันมากครับ
- ตัวผู้กู้ แต่ละธนาคารก็มีโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านที่หลากหลายมากครับ บางที่มีเป็น 10 แบบ แบ่งตามคุณสมบัติของผู้กู้ ยอดหนี้บ้าน จังหวัด และประเภทหลักทรัพย์ ดังนั้นเรากับเพื่อนเราเดินไปที่ธนาคารเดียวกันก็อาจจะได้โปรโมชั่นที่ต่างกันครับ
- พนักงานธนาคาร ที่เป็นผู้ให้บริการเราคนนี้ก็เป็นจุดสำคัญเพราะเขาจะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำและดำเนินเรื่องต่างๆ ให้กับเรา หากผู้ให้บริการไม่ได้มีความเข้าใจในตัวผลิตภัฑ์ก็อาจจะทำให้เลือกสินเชื่อผิดให้กับเราได้เช่นกันครับ
เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้จริงหรอ?
ต้องบอกว่าจริงครับ ผมกล้าที่จะยืนยันเลย เพราะอะไรนะหรอผมเองก็เคยเป็นผู้ที่ได้รับดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านสูงมาก่อนครับในสมัยที่ผมยังไม่ได้มีความเข้าใจในระบบการเงินมากนัก
ตอนนี้ผมก็กู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมานี้แหละครับ โดยติดสัญญ 3 ปี แล้วผมก็ผ่อนไปปีกว่าๆ ตอนนั้นก็เริ่มเข้ามาทำงานในสายการเงินได้สักปีแล้วก็เริ่มมาสังเกตุว่า เฮ้ยผมเสียดอกเบี้ยถึง 6.65% ต่อปี เลย (เหตุการณ์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว)
(สัญญากู้)
ซึ่งผมเองก็เป็นในลักษณะเดียวกับเคสตัวอย่างเลยครับ ผมรับเงินเดือนกับธนาคารนี้ แล้วก็ไว้ใจให้ทางธนาคารนี้ทำเรื่องให้เลยเพราะคิดว่าธนาคารไหนก็คงเหมือนกันหมดเพราะน่าจะต้องแข่งขันกันแย่งลูกค้าครับ แม่แต่ตอนที่ผมทราบเรื่องดอกเบี้ยผมเองก็ยังไม่เอะใจอะไรเลยครับ ผ่อนบ้านอย่างสบายใจมาอีกเกือบปี กว่าจะรู้ตัว
ไม่อยากเสียดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านสูงต้องทำอย่างไร
สำหรับใครที่ได้ดำเนินการทำเรื่องกู้ไปแล้วและรู้ว่าตัวเองได้ดอกเบี้ยสูงแนวทางในการจัดการเรื่องนี้ต้องบอกว่าค่อนข้างยาก แต่จากประสบการณ์ตรงของผมก็พอจะแนะนำได้ 4 แนวทางดังนี้ครับ
1. หาเงินก้อนมาปิด
ถ้าใครมีเงินก้อนพอที่จะปิดหนี้ก้อนนี้ได้ ก็นำมาปิดเลยจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพง และไม่ต้องวุ่นวายย้ายธนาคาร
2. ย้ายธนาคาร (รีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนด)
วิธีนี้ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่เราจะสามารถลดดอกเบี้ยบ้านได้ครับ แต่ว่าวิธีนี้เราจำเป็นจะต้องคิดคำนวณให้ดีถึงความคุ้มได้ คุ้มเสียครับ
แน่นอนว่าถ้าเราทำการรีไฟแนนซ์บ้านเราจะได้ดอกเบี้ยบ้านที่ถูกลง แต่เราจะมองดอกเบี้ยบ้านที่ถูกลงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะสิ่งที่คุณทำนั้นผิดต่อสัญญากับธนาคารปัจจุบันที่คุณจะรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนด ดังนั้นทั่วไปแล้วจะมีค่าปรับประมาณ 3% ของยอดหนี้คงเหลือครับ
ถ้าราคาบ้านของคุณคือ 3.6 ล้านบาท คุณก็จะต้องเสียค่าปรับ 3% = 108,000 บาท และยังมีค่าใช้จ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์ที่กรมที่ดินอีกประมาณ 1 - 1.5% ของราคาซื้อขาย = 54,000 บาท รวมแล้วเงินที่คุณจะต้องมีเงินสดที่ต้องจ่ายเลยประมาณ 162,000 บาทก่อนเป็นก้อนแรก ซึ่งราก็ต้องนำไปรวมกับดอกเบี้ยของธนาคารใหม่ที่เราต้องจ่ายอีก 3 ปีข้างหน้า แล้วถึงเอามาลองหักลบดูว่าแบบไหนถึงประหยัดได้กว่ากัน
อย่างในเคสนี้ผมได้ลองคำนวณคร่าว ๆ ได้ว่าถ้าเขายอมเสียดอกเบี้ยที่ 6.47% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปีตามสัญญาก่อนจะรีไฟแนนซ์ได้ เขาจะเสียดอกเบี้ยประมาณ 5 แสนบาท
แต่ถ้าเขาทำการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดเมื่อนำ ค่าปรับ ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ และดอกเบี้ย 3 ปีของธนาคารใหม่ รวมกันแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 3.7 แสนบาท
เท่ากับว่าจะสามารถประหยัดไปได้ประมาณ 1.2 แสนบาท ถ้าเลือกย้ายธนาคาร
ถ้าคุณคิดว่าโอเคอย่างน้อยก็ได้ประหยัดไป 1.2 แสนบาท แล้วเรามีเงินก้อนที่พร้อมจ่ายก็ดำเนินการทำเรื่องกู้กับธนาคารใหม่ได้เลยครับ แต่บางคนไม่มีเงินสำหรับค่าปรับแล้วต้องไปทำเรื่องกู้มาคุณก็ต้องคิดแล้วนะครับว่าดอกเบี้ยของเงินที่กู้มาใหม่ กับยอดผ่อนต่อเดือนที่ต้องผ่อนทั้งหนี้บ้าน กับเงินที่กู้มาจ่ายค่าปรับคุณจะจ่ายไหวไหม จะมีปัญหาการเงินตามมาหรือเปล่า
3. ลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม
ลองทำการต่อรองลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ซึ่งวิธีนี้ผมก็ได้ลองใช้เหมือนกันก่อนหน้านี้ก็ไม่รู้ว่าทำได้ ซึ่งก่อนหน้าผมเคยมาติดต่อทั้งสาขาธนาคาร และ Call Center ธนาคาร ก็ให้คำตอบเดียวกับว่าไม่สามารถทำอะไรได้ให้ทำตามสัญญา หรือไม่ก็หาเงินก้อนมาปิด
พอผมรู้ว่าผมจ่ายดอกเบี้ยที่ 6.65% ผมก็คำนวนแล้วและตัดสินใจว่าถ้าทำไรไม่ได้ผมก็ยอมเสียค่าปรับทำเรื่องย้ายธนาคารไปที่ใหม่รับดอกเบี้ยประมาณ 3% (ดอกเบี้ยเมื่อ 4 ปีที่แล้ว)
แต่ระหว่างที่ผมทำเรื่องผมก็ได้แจ้งธนาคารเดิมด้วยว่าผมจะทำเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดให้ดำเนินเรื่องได้เลยผมติดต่อกับธนาคารใหม่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่ชื่อแผนป้องกันลูกค้าย้ายธนาคาร (อะไรประมาณนี้ผมก็จำไม่ค่อยได้) โทรมาให้ข้อเสนอว่าจะลดดอกเบี้ยให้ ซึ่งเขาก็สอบถามดอกเบี้ยใหม่ที่ผมได้ แล้วก็เสนอดอกเบี้ยมาที่ 4.25% หากตกลงก็จะทำสัญญาใหม่ปรับดอกเบี้ยลงได้เลย แต่ผมจะต้องทำสัญญาใหม่และอยู่กับธนาคารไปอีก 3 ปีครับ
ที่นี้จะมีข้อสังเกตุอีกจุดคือการทำวิธีนี้บางธนาคารอาจจะใช้ว่าเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบนี้จะทำให้เรามีประวัติไม่ดีทางการเงินและในช่วงเวลา 3 ปี เวลาเราไปขอสินเชื่อธนาคารไหน หรือจะทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ก็แล้วแต่ เราจะไม่สามารถขอสินเชื่อได้เลยนะครับ ดังนั้นใครจะทำวิธีนี้ต้องสอบถามทางธนาคารเลยว่าเป็นการปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ แล้วจะมีผลต่อการขอสินเชื่อหรือทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคตหรือไม่
4. ผ่อนต่อไปจนครบสัญญา
สำหรับใครที่ผ่อนมาสักพักใหญ่ ๆ แล้วพึ่งมารู้ตัว แล้วอีกไม่นานเราก็จะรีไฟแนนซ์บ้านได้แล้ว หรือคนที่ไม่สะดวกทั้ง 3 แนวทางก่อนหน้านี้ การผ่อนกับธนาคารต่อไปตามสัญญาก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด หากเรามีเงินก้อนเช่นโบนัสออกมาเราก็เอาไปโป๊ะ ได้ครับเนื่องจากสินเชื่อบ้าน สินเชื่ที่อยู่อาศัยเป็นเงินกู้แบบลดต้นลดดอกอยู่แล้ว ยิ่งเงินต้นเหลือน้อยเราก็จะเสียดอกเบี้ยน้อยลงด้วยครับ แล้วเมื่อถืงเวลาที่เราสามารถย้ายธนาคารได้ค่อยทำเรื่องครับ ผมแนะนำให้ใช้บริการฟรี Refinn Alert ตัวช่วยที่จะเตือนคุณเมื่อถึงเวลาต้องรีไฟแนนซ์ลดดอกเบี้ยบ้าน แนะนำในการเตรียมเอกสาร มีเจ้าหน้าที่แนะนำเรื่องดอกเบี้ย ทุกอย่างฟรีทั้งหมดไม่มีข้อผูกมัดเลยครับ ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Refinn Alert ครับ
ส่วนใครที่คิดว่าจะรีไฟแนนซ์บ้าน หรือครบกำหนดที่จะรีไฟแนนซ์บ้านก็สามารถเข้าไปดูโปรโมชั่นผ่าน Refinn ได้ที่ รีไฟแนนซ์ ซึ่งดอกเบี้ยนตอนนี้ก็เริ่มต้น 2.35% ซึ่งถือว่าถูกมาก ๆ เลยครับ
คำแนะนำก่อนกู้ซื้อบ้านใหม่ บ้านมือสอง กู้เงินสร้างบ้าน
ใครที่กำลังทำการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผมอยากจะให้หาข้อมูลเยอะ ๆ คำถามแรกี่ควรถามคือ ดอกเบี้ยเท่าไร ลองสอบถามสัก 3 - 4 ธนาคาร อย่าเลือกแค่เอาสะดวกว่าเงินเดือนเขาที่นี้ก็จะกู้ง่าย แต่การที่เราจะกู้บ้านราคาหลายล้านบ้านเราอาจจะใช้คำว่า “ง่าย” อย่างเดียวไม่ได้ แต่เราควรเลือกสิ่งที่ “ดี” ด้วยครับ
และใครที่มีแผนจะซื้อบ้านมือสอง ตอนนี้ก็ลองเขาไปดูโปรโมชั่นได้ที่ สินเชื่อบ้านมือสอง เราก็มีทีมงานคอยให้คำแนะนำฟรี ตลอดการขอสินเชื่อด้วยนะครับ