ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้จริงไหม อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
reduce tax by using home interest

ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้จริงไหม อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

รู้ไหมว่า ถ้าเราผ่อนบ้าน/คอนโดอยู่ เราสามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริงมาลดหย่อนภาษีได้ โดยคิดจากดอกเบี้ยตลอดปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

สำหรับคนส่วนใหญ่บ้านคือทรัพย์สินและหนี้สินที่มีมูลค่ามากที่สุด ทางรัฐบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีที่อยู่อาศัย จึงมีนโยบายสนับสนุนให้เราสามารถนำดอกเบี้ยจากสินเชื่อบ้านที่จ่ายจริง ไปขอลดหย่อนจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมสรรพากรเรียกเก็บได้ ซึ่งดอกเบี้ยที่นำมาคิดคำนวณได้ในหมวดนี้ต้องมีวัตถุประสงค์คือ กู้เงินเพื่อซื้อบ้าน กู้เพื่อเช่าซื้ออาคารและที่ดินหรือห้องชุด และสร้างอาคารบนที่ดินที่ตัวเองมีกรรมสิทธิ์ ซึ่งรวมไปถึงการรีไฟแนนซ์บ้านด้วย

ใครสามารถยื่นลดภาษีดอกเบี้ยบ้านได้บ้าง

สำหรับภาษีที่ยื่นจะยื่นได้เฉพาะของใครของมันอยู่แล้วครับ เพราะเป็นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล แต่ทั้งนี้ การใช้ดอกเบี้บบ้านลดภาษีนั้น จะต้องคิดแยกเป็นกรณีๆไปครับ เพราะก็มีหลายคนที่ไม่ได้กู้ซื้อบ้านคนเดียว แต่อาจจะมีกู้ร่วม ดังนั้นจึงต้องมีขั้นตอนการพิจารณาก่อนที่จะยื่นลดหย่อนภาษี ดังนี้ครับ 

กรณีกู้เดี่ยว

  • ในกรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทครับ ดังนั้นต่อให้ดอกเบี้ยเรา 200,000 บาท ยังไงก็ลดหย่อนได้แค่ 100,000 บาทครับ

กรณีกู้ร่วม

กรณีกู้ร่วม จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1.ต่างคนต่างยื่น

1.1กู้ร่วม จะลดหย่อนไดเคนละครึ่งหนึ่งแต่ไม่เกิน 50,000 บาท

1.2ต่างคนต่างกู้ ทั้ง2คน สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

2.ยื่นร่วมกัน

2.1 กู้ร่วม รวมกันยื่นจัลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

2.2 ต่างฝ่ายต่างกู้ สามารถใช้สิทธิ์ของตนเองได้ไม่เกิน 100,000 บาท และใช้สิทธิของคู่สมรสได้อีก 100,000 บาท รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท

ปล. เฉพาะกรณีคู่สมรส สามีภรรยา ที่ยื่นร่วมในกรณีต่างฝ่ายต่างกู้เท่านั้นที่จะสามารถลดหย่อนภาษีได้คนละไม่เกิน 100,000 บาท รวมเป็นไม่เกิน 200,000 บาท

การนำดอกเบี้ยบ้านไปลดหย่อนภาษี มีเงื่อนไขดังนี้

เงื่อนไขต่างๆในการนำดอกเบี้ยบ้านไปลดหย่อนภาษีจะมีดังนี้ครับ

  • สำหรับผู้ที่มีรายได้ ตามมาตรา 40(1) ซึ่งประกอบด้วย เงินเดือน, ค่าจ้าง, เบี้ยเลี้ยง,โบนัส ฯลฯ
  • ดอกเบี้ยที่นำมาลดหย่อนภาษี ต้องเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งประกอบด้วย สินเชื่อบ้านใหม่ สินเชื่อบ้านมือสอง สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (สินเชื่อบ้านแลกเงิน ไม่สามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้)
  • ต้องเป็นเงินกู้ที่กู้จาก สถาบันการเงิน/ธนาคาร ในประเทศไทยเท่านั้น

สำหรับโปรโมชั่นที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดสัญญา จะเหมาะกับคนที่ตั้งใจว่าจะรีไฟแนนซ์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายเช่น คนที่เหลือผ่อนอีกไม่กี่ปี หรือคนที่ยอดหนี้เหลือประมาณ 1 ล้านบาท (เพราะหลายธนาคารไม่รับรีไฟแนนซ์บ้านที่วงเงินต่ำกว่า 1 ล้านบาท)

กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ตามที่ได้กล่าวไปข้างบนสามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายจริงมาลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งถ้าหากผู้เสียภาษีมีบ้าน 2 หลังขึ้นไป ภาษีที่สามารถลดหย่อนได้ตามดอกเบี้ยที่จ่ายจริงสามารถนำมารวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และถ้าหากมีการกู้ร่วม ผู้กู้ต้องนำดอกเบี้ยที่จะขอลดหย่อนมาหารตามจำนวนผู้กู้ร่วมก่อน เช่น ถ้าสินเชื่อนั้นคิดดอกเบี้ย 100,000 บาท มีผู้กู้ร่วม 2 คน ก็จะทำให้ผู้กู้สามารถขอลดหย่อนได้เพียง 50,000 บาท

ขั้นตอนในการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี

ขั้นตอนในการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี

ในการขอใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษี เราจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการปฎิบัติครับ ซึ่งผมจะมาอธิบายแบบง่ายๆให้ได้เข้าใจกันครับ 

สำหรับวิธีการลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้านนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายดายเเละไม่จำเป็นต้องคำนวนให้เสียเวลา เพราะธนาคารจะส่งหนังสือรับรองดอกเบี้ยมาให้ทุกปลายปีถึงต้นปี โดยหนังสือดังกล่าวจะมียอดสรุปว่าเราชำระไปเป็นจำนวนเท่าไหร่เเล้วรวมไปถึงจำนวนดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน เเละนำจำนวนดอกเบี้ยที่ได้นำไปกรอกในเเบบเเสดงรายได้

ในส่วนของ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย เเละสามารถนำไปยื่นให้กับสรรพากรได้ในทันที เเต่ต้องอย่าลืมเก็บหลักฐานยืนยันไว้เผื่อถูกสรรพากรเรียกดูในภายหลังด้วยนะ โดยเราสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามรายละเอียดคร่าวๆดังนี้

  • หากเรามีเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสามรถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง เเต่จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • หากเรามีการจ่ายดอกเบี้ยไปมากกว่า 100,000 บาทก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เเต่จะได้เต็มที่เพียง 100,000 เท่านั้น

ใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี ต้องมีเอกสารใดบ้าง

หลังจากที่ได้รู้เงื่อนไข และขั้นตอนในการใช้ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีกันไปแล้ว ที่สำคัญอย่าลืมเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นลดภาษีด้วยนะครับ ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้ ก็จะมีดังนี้ครับ

  • สำเนาการกู้ยืมเงิน
  • หนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน

วิธีประหยัดเงินผ่อนบ้านรูปแบบอื่น

วิธีประหยัดเงินผ่อนบ้านรูปแบบอื่น

จริงๆแล้ว การบริหารดอกเบี้ยบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถทำได้หลายทาง โดยนอกจากนำมาลดหย่อนภาษีแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งเป็นการย้ายสินเชื่อจากธนาคารหนึ่งไปอีกธนาคารหนึ่งที่อัตราดอกเบี้ยถูกกว่า จึงทำให้ค่างวดถูกลง และระยะเวลาผ่อนสั้นลงอีกด้วย ซึ่งรีไฟแนนซ์ครั้งนึงอาจทำให้คุณสามารถประหยัดเงินได้เป็นแสนเลยทีเดียว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี

ในการใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษี มักจะมีหลายคนที่มีข้อสงสัยต่างๆ ผมเลยลิสต์ข้อสงสัยเหล่านั้นออกมาเป็นข้อๆ และมาอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจกันครับ

ถ้ามีบ้านมากกว่า 1 หลัง สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไหม?

  • กรณีที่มีบ้านต้องผ่อนชำระมากกว่า 1 เเห่ง สามารถขอลดหย่อนภาษีจากการผ่อนบ้านได้เช่นกัน เเละสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ทุกเเห่ง เเต่ยังคงตามเงื่อนไขเดิมว่าจะสมารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ถ้ามีผู้กู้ร่วมจะลดหย่อนภาษีทุกคนไหม?

  • หากมีผู้กู้ร่วมก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งสองฝ่าย โดยในการขอลดหย่อนภาษีจะมีการเฉลี่ยภาษีตามสัดส่วนของผู้กู้ร่วมตามที่ได้มีการตกลงกันครับ

ผู้กู้ร่วมทุกคนต้องแจ้งความประสงค์หรือไม่?

  • ไม่จำเป็นจะต้องเเจ้งความประสงค์ เพียงเเต่ในการกู้ร่วมจะต้องมีการกู้ 1 คนขึ้นไป เเต่จะต้องไม่เกิน 3 คน โดยในปัจจุบันสามารถกู้ร่วมได้ทั้งคนที่ใช้นามสกุลเดียวกันหรือไม่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน คู่รัก รวมไปถึงคู่รักที่เป็น LGBTQ+ ก็สามารถกู้ร่วมได้เช่นกันครับ

ต้องจ่ายดอกเบี้ยบ้านทั้งปีไหมถึงจะลดหย่อนภาษีได้?

  • จะต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยบ้านทั้งปีครับในการลดหย่อนภาษี หากมีการจ่ายดอกเบี้ยบ้านถึงครบปีเราสามารถลดหย่อนภาษีได้เลยตามเงื่อนไขที่กำหนด เเต่เเน่นอนว่าเราจะสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

รู้หรือไม่ รีไฟแนนซ์บ้าน คุ้มกว่า การใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี

รู้ไหมครับว่ามีเทคนิคนึงที่สามารถช่วยเราประหยัดเงินได้ดีกว่าแค่ใช้ดอกเบี้ยบ้านลดภาษีนั่นก็คือ “การรีไฟแนนซ์ครับ” 

รู้หรือไม่ รีไฟแนนซ์บ้าน คุ้มกว่า การใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี

ผมชวนมาดูตัวเลขที่น่าสนใจแบบคำนวณให้ดูกันขัดๆเลยว่าเราจะประหยัดเงินได้กว่าแค่การใช้ดอกเบี้ยบ้านลดภาษีขนาดไหน มาดูกันเลยครับ

สมมุติถ้าปีนึงเราต้องเสียดอกเบี้ย 200,000 บาท

ถ้าใช้ดอกเบี้ยบ้านลดภาษีจะได้แค่ 100,000 บาท

ดังนั้นเราจะขอลดได้เเค่ 5% ของ 100,000 บาท

เท่ากับแค่ 5,000 บาท

หักแล้วยังเหลือดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายอีกตั้ง 195,000 บาท

แต่ถ้าเรารีไฟแนนซ์บ้าน

ดอกเบี้ยปีนึงจาก 200,000 บาท

อาจจะเหลือเเค่ 150,000 บาท

และยังสามารถนำ 100,000 บาท

มาคำควณลดหย่อนภาษีได้อีก 5%

ดังนั้นเมื่อหักเทั้งหมดแล้วเราจะเกหลือดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพียงแค่ 145,000 บาท

ต่างกันตั้ง 50,000 บาทแหนะครับ ดังนั้นหากใครสนใจรีไฟแนนซ์บ้าน สามารถสมัครผ่าน Refinn ได้ที่ รีไฟแนนซ์บ้าน

รีไฟแนนซ์บ้านแล้ว ยังลดหย่อนภาษีได้ต่อไหม?

“ได้แน่นอนครับ” เพราะว่าเมื่อรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่แล้ว ก็จะเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษี ได้ตามเงื่อนไขเดิมครับ อย่าลืมแชร์และบอกต่อเพื่อนๆ ให้ระบุดอกเบี้ยบ้านในรายการลดหย่อนภาษี ก่อนถึงวันครบกำหนดยื่นภาษีนะครับ จะได้ไม่เสียโอกาสประหยัดเงินก้อนโตไป

สรุปเรื่องการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี

อ่านกันมาจนถึงส่วนสุดท้ายของบทความกันแล้วนะครับ หลายคนคงเข้าใจกระบวนการต่างๆของการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดภาษีกันไปแล้ว ซึ่งอย่างที่ผมบอกครับว่าถ้าเราทำการรีไฟแนนซ์บ้าน ร่วมกับการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดภาษี จะทำให้เราประหยัดเงินได้มากกว่าการขอลดดอกเบี้ยบ้านอย่างเดียวครับ ดังนั้นหากใครที่สนใจรีไฟแนนซ์บ้าน สามารถปรึกษากับทาง Refinn ได้เลย

“รีไฟแนนซ์บ้านเถอะครับ มันช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าจริงๆ”

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ เพจ Facebook : Refinn หรือ Line id : @Refinn

เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567
Refinn Writer
ช่วยเปรียบเทียบโปรโมชั่นที่ประหยัดดอกเบี้ยที่สุด ฟรี ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม