จะรีไฟแนนซ์บ้าน รู้หรือยัง ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านเป็นเงินเท่าไร
เพื่อนๆ หลายคนอาจจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การรีไฟแนนซ์บ้าน นั้นจะช่วยในเรื่องของการปลดหนี้บ้าน และสินเชื่อบ้านที่เรากู้บ้านมาได้ เพราะการรีไฟแนนซ์จะทำให้เราสามารถผ่อนดอกเบี้ยบ้านได้ในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม อีกทั้งยังยืดอายุการผ่อนออกไป ไม่จำเป็นต้องรีบผ่อนให้หมดแบบที่เคยผ่านมา แต่เราก็ต้องพึงรู้ไว้นะครับ ว่าเราเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านเหมือนกัน ซึ่งรีไฟแนนซ์บ้านต้องเสียค่าอะไรบ้างตามไปชมกันเลย
1. ค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด
ปกติเวลาเราขอสินเชื่อบ้าน หรือกู้บ้านกับสถาบันการเงิน เขาก็จะมีเงื่อนไขเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยสำหรับ ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน มาด้วย ซึ่งตัวเเรกนั่นก็คือค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนดนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วทางสถาบันการเงินจะกำหนดระยะเวลาของค่าปรับนี้อยู่ที่ 3 ปี
ถ้าหากเราตัดสินใจจะรีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกของการผ่อน เราก็จะต้องเจอเข้ากับเจ้าค่าปรับนี้ประมาณ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ ขณะเดียวกันหากเราไม่ได้รีไฟแนนซ์ภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็จะไม่มีค่าปรับไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนดก็ว่าง่าย ๆ คือ เราก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับเข้าไปใน ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน นั้นเองครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องรอให้ครบ 3 ปี แล้วถึงเริ่มทำการรีไฟแนนซ์บ้านนะครับ ผมจะแนะนำให้คนที่ผ่อนใกล้จะครบ 3 ปีแล้ว ว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรีไฟแนนซ์ คือ 2 ปี 10 เดือน เพราะกว่าเรื่องจะอนุมัติ กว่าเจ้าหน้าที่จะมาประเมินราคา กว่าธนาคารเก่าจะนัดวันไถ่ถอน ก็จะครบ 3 ปี พอดี แบบนี้ก็จะไม่โดนค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนดครับ
2. ค่าใช้จ่ายจากการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์
ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน ตัวต่อไปก็คือ ค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อบ้านที่เราต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่เราไปเดินเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้านกับเขาครับ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะมีทั้ง
- ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ส่วนใหญ่มักจะเก็บที่ประมาณ 3,000 บาท
- ค่าจดจำนอง ซึ่งจะเสีย 1% ของวงเงินกู้
- ค่าอากรณ์สแตมป์ เสีย 0.05% ขิงวงเงินกู้ที่ได้
- ค่าประกันอัคคีภัย เป็นค่าใช้จ่ายที่ต่อให้ไม่รีไฟแนนซ์ ก็ต้องทำอยู่แล้ว แต่เราจะจ่ายให้กับธนาคารใหม่ก็ต่อเมื่อเราทำสัญญากันแล้วครับ
- ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา มีเพียงบางธนาคารเท่านั้น
ซึ่งนี้ก็เป็นจำนวนเงินที่เราต้องทราบไว้ จะได้เตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ให้พร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นเอง แต่ต้องบอกว่าหลายๆ ธนาคารก็มีโปรโมชั่นออกมาเรียกลูกค้า ซึ่งเขาอาจจะให้ฟรีค่าใช้จ่ายทั้ง 5 รายการที่กล่าวมาด้านบนก็มีนะครับ เราก็อาจจะต้องเช็คกันอีกที
3. ค่าใช้จ่ายกับกรมที่ดิน
ในความเป็นจริงแล้ว การรีไฟแนนซ์บ้านก็เหมือนกับการกู้บ้านหรือขอสินเชื่อบ้านใหม่นั่นแหละครับ แต่เป็นการขอเพื่อมาปิดหนี้ก้อนเก่าเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเสียค่าจดจำนองให้กับกรมที่ดินอีกหนึ่งรอบ ซึ่งราคาค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่อัตรา 1% ของวงเงินกู้ และมีค่าอากรแสตมป์อีก 0.05% ของวงเงินกู้ด้วย ดังนั้น อย่าลืมเตรียมเงินให้พร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านในส่วนของกรมที่ดินด้วยนะครับ
คำถามอื่น ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน
หลังจากที่เราได้รู้ไปแล้วว่าค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านต้องเสียให้กับอะไรบ้าง ซึ่งผมเชื่อว่ามันน่าจะช่วยลดข้อสงสัยให้กับเพื่อน ๆ ที่อยากจะรีไฟแนนซ์บ้านได้บ้างแล้ว
ทีนี้ผมได้รวบรวมคำถามเพิ่มเติมที่คิดว่าเกี่ยวข้อง และมีคนถามเข้ามาเยอะ นอกเหนือจากเรื่อง ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ด้วยสำหรับคนที่กำลังจะรีไฟแนนซ์บ้านครับ
รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ประหยัดค่าใช้จ่าย
การีไฟแนนซ์บ้านให้คุ้มค่ามากที่สุดมีหลากหลายวิธีเลยครับ ซึ่งน่าจะไม่สามารถบอกได้หมด ผมขอแนะนำเป็นหลักในการพิจารณาที่จะช่วยลด ค่ารีไฟแนนซ์บ้าน ให้กับเพื่อน ๆ ครับ
1.เปรียบเทียบดอกเบี้ยส่วนต่าง
ให้เราเช็คกว่า ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่าย ในช่วง 3 ปี แรกถ้าเรารีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารใหม่ เมื่อเทียบกับอยู่ธนาคารเดิม ต่างกันเยอะไหม คิดว่าเราคุ้มค่าที่จะทำหรือเปล่า
หรือหากใครคิดว่าไม่อยากรีไฟแนนซ์บ้านบ่อยๆ ก็อาจจะลองเทียบเป็นดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตลอดสัญญาได้ครับ แต่อย่างเราแนะนำให้รีไฟแนนซ์บ้านทุกๆ 3 ปี จะสามารถประหยัดได้มากกว่าครับ
2. เปรียบเทียบราคาบ้านของเราในปัจจุบัน
ในการรีไฟแนนซ์เราอาจจะต้องเช็คราคาบ้านของเราในปัจจุบันครับ เพื่อที่จะได้รู้ว่าราคาประเมิน ณ ปัจจุบันของที่อยู่อาศัยเรามีมูลค่าสูงกว่าหนี้ที่เหลือหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นแบบนั้น นั่นจะเป็นข่าวดีสำหรับเราเลยล่ะครับ เพราะว่านี่คือสัญญาณที่เหมาะแก่การรีไฟแนนซ์
ยกตัวอย่าง เช่น หากเราซื้อบ้านเมื่อ 5 ปีก่อนในราคา 5 ล้านบาท และผ่อนจ่ายมาเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน เรามีหนี้เหลือ 4 ล้านบาท แต่ราคาบ้านกลับเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านบาท ซึ่งมันแสดงให้เห็นได้ชัดเลยครับ ว่าราคาบ้านในปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่าหนี้คงเหลือของเรา
ดังนั้นการรีไฟแนนซ์ในช่วงเวลาแบบที่ผมได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ถือว่าเป็นประโยชน์และดีกับเรามากเลยล่ะครับ เพราะนอกจากจะประหยัด ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน แล้ว เงินส่วนต่างที่เราได้รับมา สามารถกลายเป็นทุนให้เรานำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้อีกด้วยนะ
3. หาข้อมูลธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยถูกที่สุด
ก่อนที่เราจะรีไฟแนนซ์ (ถ้าเป็นไปได้) ผมแนะนำให้เพื่อน ๆ ศึกษาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารหลาย ๆ แห่งก่อนเลยครับ ว่าธนาคารไหนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารปัจจุบันที่เรากำลังผ่อนอยู่
เพราะถ้าเราเจอและเลือกธนาคารใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิมแล้วล่ะก็ เราจะสามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน ได้ส่วนหนึ่งเลยล่ะครับ
เพื่อน ๆ คนไหนสนใจอ่านเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไร ให้คุ้มค่าที่สุด ได้เลย
อัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านของแต่ละธนาคาร
อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ครับ ว่าอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารก็มีความสำคัญไม่แพ้กับ ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน ส่วนอื่นๆ เพราะการเลือกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าจะทำให้เราประหยัดเงินได้มากกว่านั่นเองครับ และในปัจจุบันนี้ ธนาคารแต่ละแห่งก็มีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยมากมายให้เพื่อน ๆ ได้เลือกกันแบบไม่หวาดไม่ไหวกันเลยล่ะ โดยมีบางธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีถูกถึง 2.60-2.83% เลยนะ (ข้อมูลอ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565) และเมื่อเราไก้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกใจแล้ว เราก็สามารถนำมาคำนวณเพื่อหายอดเงินผ่อนเฉลี่ยในเเต่ละงวดตลอดสัญญาได้เองนั่นเองครับ
แต่อย่าลืมนะครับ ว่าในตลอดระยะเวลาที่สัญญากำหนด ตัวดอกเบี้ยเองก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามระยะเวลาที่แต่ละธนาคารกำหนด ตัวอย่างเช่น ธนาคาร A ดอกเบี้ย 3 ปีแรกเท่ากับ 2.60% ต่อปี แต่หลังจากปีที่ 4 ขึ้นไปจะเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็น 3% ต่อปี ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เราต้องคำนวณกันหลายรอบ เพื่อหายอดเงินผ่อนเฉลี่ยในแต่ละงวดครับ
และถ้าเพื่อน ๆ คนไหนเจอกับปัญหานี้อยู่ ผมขอแนะนำ Refinn ตัวช่วยที่จะทำให้เพื่อน ๆ สบายใจในการรีไฟแนนซ์บ้านและคอนโดครับ ด้วยการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงสินเชื่อบ้าน แถมเราไม่ต้องเสียเวลาคำนวณเองด้วยนะครับ เพราะ Refinn มีระบบค้นหาและเปรียบเทียบดอกเบี้ยจาก 15 ธนาคารชั้นนำเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเพื่อน ๆ มากที่สุดด้วยล่ะ เรียกได้ว่าหายห่วงเรื่อง ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน กันไปเลยครับ
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน
การรีไฟแนนซ์เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่อยากผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ๆ ครับ แต่หนึ่งในเหตุผลที่คนยังไม่ค่อยทำกัน คือ ไม่รู้ว่ารีไฟแนนซ์ต้องทำอย่างไร
ซึ่งผมจะมาบอกเพื่อน ๆ ถึงขั้นตอนสำคัญในการรีไฟแนนซ์บ้านกันครับ ว่ามีอะไรบ้าง และผมขอเป็นกำลังใจให้เลยครับว่าหากเราเข้าใจขั้นตอนและเตรียมตัวมาอย่างดี เพื่อน ๆ จะมีโอกาสผ่อนบ้านได้เร็วขึ้นและช่วยประหยัด ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน ได้เป็นแสนอีกด้วย เอาล่ะครับ เราไปดูขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
- ตรวจสอบสัญญากู้ของตัวเอง ว่าเราสามารถรีไฟแนนซ์ได้เมื่อไหร่ (โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 3 ปี)
- เลือกธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ถ้าเลือกดีๆ ได้ตัวที่ดอกเบี้ยถูกที่สุด จะประหยัดดอกเบี้ยได้หลักแสนเลยล่ะครับ
- เตรียมเอกสารประกอบการยื่นรีไฟแนนซ์ ประกอบด้วย เอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคล, เอกสารแสดงรายได้, เอกสารด้านหลักประกัน
- ยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ ซึ่งใช้เวลาพิจารณาอนุมัติประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังจากที่ยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์ พร้อมส่งเอกสารเรียบร้อย
- สอบถามยอดหนี้คงเหลือ และนัดวันไถ่ถอนกับธนาคารเก่า เมื่อได้รับการอนุมัติจากธนาคารใหม่แล้ว
- ไปทำสัญญาและจำนองที่กรมที่ดิน โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารใหม่จะถือสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดิน พร้อมๆกับทำสัญญาจำนองที่กรมที่ดินในวันเดียวกันเลยครับ
และถ้าหากเพื่อน ๆ คนไหนต้องการทราบข้อมูลแบบละเอียด สามารถอ่านได้ที่ ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน
สรุปรีไฟแนนซ์บ้าน
จะเห็นได้ว่าการรีไฟแนนซ์แต่ละครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น แต่ถ้าถามว่าคุ้มค่าไหมกับการที่เราจะประหยัดดอกเบี้ย ผมเคยคำนวณไว้ให้ดูในบทความ ค่าใช้จ่ายในการ Refinance คุ้มกับดอกเบี้ยที่ลดได้หรือเปล่า? โดยจากการคำนวณครั้งนั้น ก็แสดงให้เห็นชัดเลยว่า “เราสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้กว่า 257,529 บาท !!! โดยการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ ประมาณ 12,500 บาท เท่านั้น”
สำหรับใครที่อยากรู้ว่าธนาคารไหนดอกเบี้ยเท่าไหร่ และธนาคารไหนฟรีค่าอะไรบ้าง ก็เข้าไปดูได้ที่ www.refinn.com/รีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งได้รวบรวมโปรโมชั่นจาก 15 ธนาคารชั้นนำมาไว้ในที่เดียว ที่สำคัญ ฟรี ไม่มีค่าบริการครับ